วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

สะล้อ


                สะล้อเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองล้านนาชนิดหนึ่ง เป็นประเภทเครื่องสีซึ่งมีทั้ง 2 สายและ 3สาย คันชักสำหรับสีจะอยู่ข้างนอกเหมือนคันชักซอสามสาย สะล้อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สะล้อหรือทะล้อ มีรูปร่างคล้ายซออู้ของภาคกลาง ใช้ไม้แผ่นบาง ๆ ปิดปากกะลาทำหลักที่หัวสำหรับพาดทองเหลือง ด้านหลังกะโหลกเจาะเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ เช่น รูปหนุมาน รูปหัวใจ ส่วนด้านล่างของกะโหลก เจาะทะลุลง ข้างล่าง เพื่อสอดคันทวนที่ทำด้วยไม้ชิงชัน ยาวประมาณ 64 ซม ตรงกลางคันทวนมีรัดอกทำด้วยหวาย ปลายคันทวนด้านบนเจาะรูสำหรับสอดลูกบิด ซึ่งมี 2 หรือ 3 อัน สำหรับขึงสายซอ จากปลายลูกบิดลงมาถึงด้านกลางของกะโหลกมีหย่องสำหรับ หนุนสายสะล้อเพื่อให้เกิดเสียงเวลาสี คันชักสะล้อทำด้วยไม้ดัดเป็นรูปโค้ง ขึงด้วยหางม้าหรือพลาสติก เวลาสีใช้ยางสนถูทำให้เกิดเสียงได้
                สะล้อใช้บรรเลงประกอบการแสดงหรือบรรเลงร่วมกับบทร้องและทำนองเพลงได้ทุกชนิดเช่น เข้ากับปี่ในวงช่างซอ เข้ากับซึงในวงพื้นเมือง หรือใช้เดี่ยวคลอร้องก็ได้



ประเภทของสะล้อสะล้อมี 3 ประเภทคือ

               1.สะล้อใหญ่ มี 3 สาย ตั้งเรียงคู่สี่และคู่สามร่วมกันหากเทียบกับเสียงดนตรีสากลคือ เสียงโด ซอลโด
 2. สะล้อกลาง มี 2 สาย ตั้งเสียงคู่สี่ เทียบกับเสียงดนตรีสากล สายเอกคือ เสียงโด สายทุ้มคือเสียงซอล
 3. สะล้อเล็ก มี 2 สาย ตั้งเสียงคู่สาม เทียบกับเสียงดนตรีสากล สายเอกคือ เสียงซอล สายทุ่มคือเสียง โด ที่นิยมบรรเลงกันแพร่หลายคือ สะล้อกลางและสะส้อเล็ก ส่วนสะล้อใหญ่ไม่เป็นที่นิยม

การทำสะล้อ

                 การท าสะล้อ ไม่ปรากฏสูตรตายตัว ส่วนใหญ่ท าขึ้นโดยอาศัยเลียนแบบจากของเก่าและประสบการณ์ทางเสียงและรูปลักษณะ แต่พอจะอนุมานขนาดของสะล้อได้จากที่ปรากฏโดยทั่วไปดังนี้
         - สะล้อใหญ่ หน้ากะโหลกกว้าง ประมาณ 5.5 นิ้ว คันสะล้อวัดจากกะโหลกถึงหลักสะล้อยาวประมาณ 15 นิ้ว
         - สะล้อกลาง หน้ากะโหลกกว้าง ประมาณ 4.5 นิ้ว คันสะล้อวัดจากกะโหลกถึงหลักสะล้อยาวประมาณ 13.5 นิ้ว
         - สะล้อเล็ก หน้ากะโหลกกว้าง ประมาณ 3.5 นิ้ว คันสะล้อวัดจากกะโหลกถึงหลักสะล้อยาว

บทบาทและลีลา


สะล้อใหญ่ มีลักษณะร่วมทางเสียงระหว่างสะล้อเล็ก และสะล้อกลางแต่เสียงทุ้มต่ า บทบาทคล้ายคนมีอายุมากไม่ค่อยมีลีลาและลูกเล่นมากนัก
สะล้อกลาง บทบาทคล้ายคนวัยกลางคน มีลีลาสอดรับกับสะล้อใหญ่และสะล้อเล็ก
สะล้อเล็ก บทบาทคล้ายคนวัยคะนอง มีเสียงแหลมเล็ก ลีลาโลดโผนล้อ และรับเสียงสะล้อกลาง ซึงและขลุ่ย

สะล้อเมืองน่าน

                 สะล้ออีกประเภทหนึ่งได้แก่ สะล้อที่นิยมเล่นในจังหวัดน่านและแพร่ สะล้อดังกล่าวมีลักษณะต่างออกไปคือ มีลูก (นม) บังคับเสียงใช้บรรเลงร่วมกับซึงเรียกว่า พิณ” (อ่านว่า ปิน”)ประกอบการขับซอน่าน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ
               สะล้อที่กล่าวมาทั้งหมดนิยมบรรเลงร่วมในวงสะล้อ-ซึง หรือเรียกกันว่าวง สะล้อ ซอ ซึง” ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในภาคเหนือตอนบน

     ลิงก์เพจ facebook

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น