วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

ปี่


 
      ที่มา : http://www.dontrithai108.com/index.php

                ปี่ เป็นเครื่องดนตรีไทย ทำด้วยไม้จริงเช่นไม้ชิงชันหรือไม้พยุง กลึงให้เป็นรูปบานหัวบานท้าย ตรงกลางป่อง เจาะภายในให้กลวงตลอดเลา ทางหัวของปี่เป็นช่องรูเล็กส่วนทาง ปลายของปี่ ปากรูใหญ่ใช้ชันหรือวัสดุอย่างอื่นมาหล่อเสริมขึ้นอีกราวข้างละ ครึ่งซม ส่วนหัวเรียก ทวนบน ส่วนท้ายเรียก ทวนล่าง ตอนกลางของปี่ เจาะรูนิ้วสำหรับเปลี่ยนเสียงลงมาจำนวน 6 รู แต่สามารถเป่าได้เสียงตรง 24 เสียง กับเสียงควงหรือเสียงแทนอีก 8 เสียง รวมเป็น 32 เสียง รูตอนบนเจาะเรียงลงมา 4 รู เว้นระยะห่างเล็กน้อย เจาะรูล่างอีก 2 รู ตรงกลางของเลาปี่ กลึงขวั้นเป็นเกลียวคู่ไว้เป็นจำนวน 14 คู่ เพื่อความสวยงามและกันลื่นอีกด้วย ตรงทวนบนนั้นใส่ลิ้นปี่ที่ทำด้วยใบตาลซ้อนกัน 4 ชั้น ตัดให้กลมแล้วนำไปผูกติดกับท่อลมเล็กๆที่ เรียกว่า กำพวด เรียวยาวประมาณ 5 ซม. กำพวดนี้ทำด้วยทองเหลือง เงิน นาก หรือโลหะอย่างอื่นวิธีผูกเชือกเพื่อ ให้ใบตาลติดกับกำพวดนั้น ใช้วิธีผูกที่เรียกว่า ผูกตะกรุดเบ็ด ส่วนของกำพวดที่จะต้องสอดเข้าไปเลาปี่นั้นเขาใช้ถักหรือเคียน ด้วยเส้นด้าย สอดเข้าไปในเลาปี่ให้พอมิดที่พันด้ายจะทำให้เกิดความแน่นกระชับยิ่งขึ้น



   

                ปี่ของไทยจัดได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่

      1.     ปี่นอก

   
           ปี่นอกเป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าที่กำเนิดเสียงจากการสั่นสะเทือนของลิ้นปี่ และเปลี่ยนระดับเสียงไปตามตำแหน่งนิ้วที่ปิดรูซึ่งเรียงอยู่บนเลาปี่

         ปี่นอกมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือ

         1.เลาปี่ ทำจากไม้เนื้อแข็ง ชนิดต่างๆ เช่น พยุง ชิงชัน มะเกลือ หรือแม้แต่งาช้าง และหินอ่อน โดยกลึงขึ้นรูปให้มีลักษณะบานที่หัวท้าย ตอนกลางป่อง ตรงกลางกลวงตลอด ด้านหัวท้ายมีแป้นไม้หรือกระดูกสัตว์ งาช้าง กลึงเป็นแผ่นบางขนาดเท่าความกว้างของเลาปี่ ติดประกบ เรียกว่า ทวนบน และทวนล่างในอดีตนั้นทวนล่างสามารถถอดออกได้ เพื่อปรับเสียงปี่ให้สูงขึ้น ตัวเลาปี่เจารู 6 รู เป็นตำแหน่งของนิ้ว โดยตอนบนเจาะเรียง 4 รู แล้วเว้นช่วงไว้ ตอนล่าง เจาะอีก 2 รูซึ่งแตกต่างกับเครื่องเป่าประเภทขลุ่ย
         รอบเลาปี่กลึงเป็นเกลียวควั่นเพื่อความกระชับในการจับป้องกันการไหลลื่นเมื่อถือบรรเลง เลาปี่นอกนั้นมีความยาวประมาณ 31 ซม. กว้าง ประมาณ 3.5 ซม.
         2.ลิ้นปี่ ทำจากใบตาลแห้ง ตัดบางซ้อนกัน 4 ชิ้น แล้วผูกติดกับแท่งโลหะเล็กๆ (เรียกว่าการผูกแบบตะกรุดเบ็ด) ซึ่งทำจาก นาค ทองเหลือง หรือเงิน เรียกว่า กำพวด แล้วจึงนำปลายด้านหนึ่งของกำพวดเสียบเข้ากับรูบริเวณทวนบนของเลาปี่
         แม้ปี่จะมีรูนิ้วเพียง 6 รู แต่ก็สามารถประดิษฐ์เสียงได้มากกว่า 20 เสียง ทั้งยังสามารถทำเสียงเลียนเสียงร้องของนักร้องได้อย่างสนิทสนม
         ปี่มีบทบาทสำคัญมากในวงปี่พาทย์ไทย บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละครนอกซึ่งผู้บรรเลงเป็นชาย ภายหลังเมื่อมีการปรับปรุงการแสดงการแสดงละครที่ผู้แสดงเป็นผู้หญิง จึงปรับระดับเสียงของปี่ให้นุ่มนวลขึ้น จึงเรียกปี่ชนิดที่เกิดขึ้นใหม่ว่า ปี่ใน ส่วนปี่ที่ใช้อยู่เดิมจึงเรียกว่าปี่นอก ส่วนปี่กลางนั้นใช้บรรเลงประกอบการแสดงหนังใหญ่


         2.  ปี่ใน


 ที่มา : http://www.dontrithai108.com/index.php

                ปี่ในเป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าที่กำเนิดเสียงจากการสั่นสะเทือนของลิ้นปี่ และเปลี่ยนระดับเสียงไปตามตำแหน่งนิ้วที่ปิดรูซึ่งเรียงอยู่บนเลาปี่
         มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือ
         1.เลาปี่ ทำจากไม้เนื้อแข็ง ชนิดต่างๆ เช่น พยุง ชิงชัน มะเกลือ หรือแม้แต่งาช้าง และหินอ่อน โดยกลึงขึ้นรูปให้มีลักษณะบานที่หัวท้าย ตอนกลางป่อง ตรงกลางกลวงตลอด ด้านหัวท้ายมีแป้นไม้หรือกระดูกสัตว์ งาช้าง กลึงเป็นแผ่นบางขนาดเท่าความกว้างของเลาปี่ ติดประกบ เรียกว่า ทวนบน และทวนล่าง ในอดีตนั้นทวนล่างสามารถถอดออกได้เพื่อปรับเสียงปี่ให้สูงขึ้น ตัวเลาปี่เจารู 6 รู เป็นตำแหน่งของนิ้ว โดยตอนบนเจาะเรียง 4 รู แล้วเว้นช่วงไว้ ตอนล่าง เจาะอีก 2 รู ซึ่งแตกต่างกับเครื่องเป่าประเภทขลุ่ย รอบเลาปี่กลึงเป็นเกลียวควั่นเพื่อความกระชับในการจับป้องกันการไหลลื่นเมื่อถือบรรเลง เลาปี่ในนั้นมีความยาวประมาณ 41-42 ซม. กว้าง ประมาณ 4.5 ซม.
         2.ลิ้นปี่ ทำจากใบตาลแห้ง ตัดบางซ้อนกัน 4 ชิ้น แล้วผูกติดกับแท่งโลหะเล็กๆ (เรียกว่าการผูกแบบตะกรุดเบ็ด) ซึ่งทำจาก นาค ทองเหลือง หรือเงิน เรียกว่า กำพวด แล้วจึงนำปลายด้านหนึ่งของกำพวดเสียบเข้ากับรูบริเวณทวนบนของเลาปี่
         แม้ปี่จะมีรูนิ้วเพียง 6 รู แต่ก็สามารถประดิษฐ์เสียงได้มากกว่า 20 เสียง ทั้งยังสามารถทำเสียงเลียนเสียงร้องของนักร้องได้อย่างสนิทสนม
                ปี่มีบทบาทสำคัญมากในวงปี่พาทย์ไทย บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละครนอก ซึ่งผู้บรรเลงเป็นชาย ภายหลังเมื่อมีการปรับปรุงการแสดงการแสดงละครที่ผู้แสดงเป็นผู้หญิง จึงปรับระดับเสียงของปี่ให้นุ่มนวลขึ้น จึงเรียกปี่ชนิดที่เกิดขึ้นใหม่ว่า ปี่ใน ส่วนปี่ที่ใช้อยู่เดิมจึงเรียกว่าปี่นอก ส่วนปี่กลางนั้นใช้บรรเลงประกอบการแสดงหนังใหญ่

             3. ปี่กลาง
  
 ที่มา : http://www.dontrithai108.com/index.php

                ปี่กลาง มีขนาดกลาง ยาวประมาณ 37 ซม. กว้างประมาณ 4 ซม. สำหรับเล่นประกอบการแสดงหนังใหญ่ มีสำเนียงเสียงอยู่ระหว่าง ปี่นอก กับปี่ใน เสียงของปี่กลางจะ ไม่แหลมหรือว่าต่ำเกินไปแต่จะอยู่ในระดับปานกลาง


    ลิงก์เพจ facebook

ขลุ่ย


              
ที่มา : http://tkapp.tkpark.or.th/stocks/content

   ขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีโบราณของไทยชนิดหนึ่ง สันนิษฐานว่า อาจจะเกิดขึ้นก่อนหรือในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ร่วมสมัยกับเครื่องดนตรีประเภท กลอง ฆ้อง กรับ พิณเพียะ แคน ขลุ่ย ปี่ ซอ และกระจับปี่ แต่มีหลักฐานชัดเจนปรากฏ ในกฎมนเฑียรบาลสมัยพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991-2031) แห่งกรุงศรีอยุธยาว่าห้ามร้องเพลงหรือเป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีตะโพนในเขตพระราชฐานก่อนที่จะมาเป็นขลุ่ยอย่างที่ปรากฏรูปร่างในปัจจุบัน ขลุ่ยได้ผ่านการวิวัฒนาการมาเป็นระยะเวลายาวนาน มาจากปี่อ้อซึ่งตัวปี่หรือเลาทำจากไม้รวกท่อนเดียวไม่มีข้อ และมีลิ้นซึ่งทำด้วยไม้อ้อลำเล็กสำหรับเป่าให้เกิดเสียง หลังจากนั้นจึงปรับเปลี่ยนรูปร่าง และวิธีเป่าจนกลายมาเป็นขลุ่ยอย่างที่เรียกกันในปัจจุบันนี้ว่าเป็นขลุ่ยเพียงออ


ประเภทของขลุ่ย
                คนไทยเป็นคนที่มีพรสวรรค์ทางศิลปะ จะเห็นได้ว่างานหัตถกรรมของไทยงดงามไม่แพ้ของชนชาติใดในโลก ประกอบกับความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยมจึงทำให้เรามีมรดกทางด้านศิลปวัฒนธรรมอยู่เป็นจำนวนมาก ขลุ่ยก็เช่นเดียวกัน นอกจากขลุ่ยเพียงออ ซึ่งสืบทอดคุณลักษณะและรูปร่างมาแต่โบราณแล้ว ต่อมาบรรพบุรุษของเรายังได้คิดค้น "ขลุ่ยหลีบ" ไว้สำหรับเล่นคู่กับขลุ่ยเพียงออ "ขลุ่ยอู้" ซึ่งคิดค้นขึ้นในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้ประกอบการละเล่นละครดึกดำบรรพ์ นอกจากนั้น ก็ยังมีขลุ่ยที่เรียกชื่ออย่างอื่นอีก เช่น ขลุ่ยกรวด ขลุ่ยเคียงออ ขลุ่ยรองออ ขลุ่ยออร์แกน เพื่อให้เหมาะกับการที่จะไปเล่นผสมกับวงดนตรีประเภทต่างๆ

ปัจจุบันขลุ่ยที่ยังมีผู้นิยมเล่นมากที่สุด มี 3 ประเภท คือ
                ขลุ่ยเพียงออ
                ขลุ่ยหลีบ
                ขลุ่ยอู้

ขลุ่ยเพียงออ
               
                                                 ที่มา : http://tkapp.tkpark.or.th/stocks/content
       เป็นเครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องเป่าชนิดไม่มีลิ้น ทำจากไม้รวกปล้องยาวๆ ด้านหน้าเจาะรูเรียงกัน สำหรับปิดเปิดเพื่อเปลี่ยนเสียง ตรงที่เป่าไม่มีลิ้นแต่มีดาก ซึ่งทำด้วยไม้อุดเหลาเป็นท่อนกลมๆยาวประมาณ 2 นิ้ว สอดลงไปอุดที่ปากของขลุ่ย แล้วบากด้านหนึ่งของดากเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ เราเรียกว่า ปากนกแก้ว เพื่อให้ลมส่วนหนึ่งผ่านเข้าออกทำให้เกิดเสียงขลุ่ยลมอีกส่วนจะวิ่งเข้าไปปลายขลุ่ยประกอบกับนิ้วที่ปิดเปิดบังคับเสียงเกิดเป็นเสียงสูงต่ำตามต้องการใตปากนกแก้วลงมาเจาะ 1 รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ เวลาเป่าต้องใช้หัวแม่มือค้ำปิดเปิดที่รูนี้ บางเลาด้านขวาเจาะเป็นรูเยื่อ ปลายเลาขลุ่ยมีรู 4 รู เจาะตรงกันข้ามแต่เหลื่อมกันเล็กน้อย ใช้สำหรับร้อยเชือกแขวนเก็บหรือคล้องมือจึงเรียกว่า รูร้อยเชือก รวมขลุ่ยเลาหนึ่งมี 14 รูด้วยกัน รูปร่างของขลุ่ยเมือพิจารณาแล้วจะเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง จากหลักฐานที่พบขลุ่ยในหีบศพภรรยาเจ้าเมืองไทยที่ริมฝั่งแม่น้ำฮวงโหซึ่งมีหลักฐานจารึกศักราชไว้ไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี ปัจจุบันขลุ่ยมีราคาสูง เนื่องจากไม้รวกชนิดที่ทำขลุ่ยมีน้อยลงและใช้เวลาทำมากจึงใช้วัตถุอื่นมาเจาะรูซึ่งรวดเร็วกว่า เช่น ไม้เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ ไม้ชิงชัน ไม้พยุง บางครั้งอาจทำจากท่อพลาสติกแต่คุณภาพเสียงไม่ดีเท่าขลุ่ยไม้ ขลุ่ยที่มีเสียงไพเราะมากส่วนใหญ่จะเป็นขลุ่ยผิวไม้แห้งสนิทขลุ่ยใช้เป่าในวงเครื่องสายไทย วงมโหรี และในวงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ การเทียบเสียงขลุ่ยเพียงออกับระดับเสียงดนตรีสากล เสียงโดของขลุ่ยเพียงออ เทียบได้เท่ากับ เสียง ทีแฟล็ต ในระดับเสียงทางสากล ปัจจุบันได้มีการทำขลุ่ยเพียงออที่มีระดับเสียงเท่ากับระดับเสียงสากล เรียกว่าขลุ่ยเพียงออ ออร์แกนบ้าง หรือขลุ่ยกรวดบ้าง แต่ในทางดนตรีสากลจะเรียกเป็นขลุ่ยไทยหมด จะเอาระดับเสียงมาเป็นตัวแยกขนาดเช่น ขลุ่ยคีย์ C, ขลุ่ยคีย์ D, ขลุ่ยคีย์Bb, ขลุ่ยคีย์ G เป็นต้น เป็นขลุ่ยที่มีขนาดปานกลาง ความยาวประมาณ 16 นิ้วระดับเสียงกลางๆ ไม่สูงไม่ต่ำเกินไป เป็นขลุ่ยที่มีผู้นิยมเล่นมากที่สุด นอกจากจะเป่าเพื่อความบันเทิงและความรื่นรมย์เฉพาะตัวแล้ว ขลุ่ยเพียงออยังเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตาม (เช่นเดียวกับระนาดทุ้ม และ ซออู้) ตามประเพณีนิยมในวงเครื่องสาย และ วงมโหรี

ขลุ่ยหลีบ
 

ที่มา : http://tkapp.tkpark.or.th/stocks/content
               
               จัดเป็นขลุ่ยที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาขลุ่ยไทยทั้งหมด มีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีเสียงสูง ใช้ในการบรรเลงในวงมโหรีเครื่องคู่ เครื่องใหญ่ และวงเครื่องสายเครื่องคู่ โดยเป็นเครื่องนำในวงเช่นเดียวกับระนาด หรือซอด้วง นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงในวงเครื่องสายปี่ชวา โดยบรรเลงเป็นพวกหลังเช่นเดียวกับซออู้ เป็นขลุ่ยที่มีขนาดเล็กที่สุด ความยาวประมาณ 12 นิ้ว เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องนำ (เช่นเดียวกับระนาดเอก และ ซอด้วง) ในวงมโหรีและวงเครื่องสายเครื่องคู่ และใช้เป็นเครื่อง ตามในวงเครื่องสายปี่ชวาเมื่อปิดนิ้วหมดทุกนิ้ว เป่าแล้วจะได้เสียง "ฟา" สูงกว่าขลุ่ยเพียงออ 4 เสียง

ขลุ่ยอู้


ที่มา : http://tkapp.tkpark.or.th/stocks/content

                เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ความยาวประมาณ 23 นิ้ว มีระดับเสียงต่ำสุดและเป็นขลุ่ยที่มีเสียงต่ำที่สุดคือต่ำกว่าเสียงโดต่ำของขลุ่ยเพียงออ 2-3 เสียง และมีลักษณะพิเศษที่ต่างจากขลุ่ยเพียงออ และขลุ่ยหลีบ คือมีรูที่ทำให้เกิดเสียง 6 รู เมื่อปิดนิ้วทุกนิ้ว เป่าแล้วจะได้เสียง "ซอล" ต่ำกว่าขลุ่ยเพียงออ 3 เสียงนิยมใช้ในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์


ขลุ่ยคีย์ต่างๆ       
                                ขลุ่ยไทยโดยทั่วไปจะมีระดับเสียงของดนตรีไทย แบ่งเป็น 2 ระดับเสียง ได้แก่เสียงกรมศิลปากร และ เสียงกรมประชาสัมพันธ์ มีรายละเอียดดังนี้
                1.) เสียงกรมศิลปากร เสียงโดของไทย จะต่ำกว่าเสียง Bb ของเสียงสากล
2.) เสียงกรมประชาสัมพันธ์ เสียงโดของไทยจะตรงกับเสียง Bb ของเสียงสากล
                ขลุ่ยไทยเทียบเสียงสากล เป็นขลุ่ยที่ใช้โครงสร้างของขลุ่ยไทยทั้งหมดแต่ปรับระบบเสียงให้เท่ากับระบบเสียงของดนตรีสากล  ซึ่งยังคงใช้เทคนิคในการเป่าขลุ่ยไทยแบบต่าง ๆ ได้ครบ และทำให้ยังคงคุณสมบัติของขลุ่ยไทยไว้ได้อย่างสมบูรณ์ และสามารถนำไปเล่นกับเครื่องดนตรีสากลได้อย่างกลมกลืน


ขลุ่ยชนิดต่าง ๆให้ เสียง ดังนี้

 1. ขลุ่ยลิบ ให้เสียงแหลมใสมีระดับเสียงกรมศิลป์/กรมประชาฯ / Eb และ D
 2. ขลุ่ยกรวด ให้เสียงสูงกว่าเพียงออ 1 เสียง มีระดับเสียงกรมศิลป์/กรมประชาฯ และ C
 3. ขลุ่ยเพียงออ ให้เสียงกลาง ๆ มีระดับเสียงกรมศิลป์/กรมประชาฯ และ Bb
 4. ขลุ่ยซุปเปอร์เพียงออ หรือ เพียงออทุ้มให้เสียงดังกังวานและทุ้มเป็นพิเศษกว่าขลุ่ยเพียงออปกติสองเท่า แต่ใช้ลมในการเป่ามากขึ้นกว่าเดิมเพียงเล็กน้อย จึงสามารถเล่นในวงมโหรีเครื่องใหญ่ที่มีเสียงดังมากได้เป็นอย่างดี มีระดับเสียงกรมศิลป์ และกรมประชาสัมพันธ์ โดยใช้แนวเสียงดนตรีของพระยาเสนาะดุริยางค์(แช่ม สุนทรวาทิน)
ที่มีลักษณะเด่น ดังนี้ คือ
1) คู่เสียงสนิทตรงกันทุกคู่เสียงเริ่มตั้งแต่คู่สอง เป็นต้นไป
2) เสียงของเครื่องดนตรี จะดังกังวานสดใสได้ยินเสมอกันทุกระยะไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกล

5. ขลุ่ยอู้ ให้เสียงทุ้มต่ำมีระดับเสียงกรมศิลป์/กรมประชาสัมพันธ์ / E b / F และ G

               การสั่งทำขลุ่ยสามารถเลือกคุณภาพของขลุ่ยและกำหนดคุณสมบัติตามลักษณะการใช้งานของขลุ่ยได้ตามต้องการ เช่น ต้องการขลุ่ยที่มีเสียงหวาน เสียงดังกังวานสดใส หรือ เสียงทุ้มนุ่มนวลเป็นพิเศษ สำหรับไว้เล่นเดี่ยว เป่าคนเดียวต้องการเสียงเบา เล่นเข้าวง เล่นกับดนตรีไทย เล่นกับดนตรีสากล เล่นในที่มีอากาศเย็น ต้องการใช้ลมมาก-ลมน้อย เป็นต้น
การเลือกเป่าขลุ่ยคีย์ต่างๆ
 ขลุ่ยเทียบเสียงสากลมี 12 คีย์ ตามคีย์ของเปียโน แต่ใช้แค่ 2 คีย์ คือ คีย์ C และ Bแฟลต ก็ครอบคุมแล้ว
               คีย์ C เหมาะกับเพลงสากล เพลงพระราชนิพนธ์ เป็นต้น
                คีย์ Bb เหมาะกับเพลงลูกทุ่งลูกกรุง

 คีย์เพลง คือ บันไดเสียงของเพลง
คีย์ของขลุ่ย คือ ระบบเสียงของขลุ่ยแต่ละชนิด เช่นขลุ่ยคีย์C , ขลุ่ยคีย์ Bb

               เมื่อเราเป่าขลุ่ยคนเดียวก็แทบไม่ต้องสนใจอะไรมากนักเพียงแค่สนใจเรื่องให้โน้ตอยู่ในช่วงที่ขลุ่ยเป่าได้และตัวโน้ตไม่ติดชาร์ปหรือแฟล็ตมากเท่านั้นเอง อีกอย่างที่สำคัญก็แค่เป่าออกมาให้ฟังเป็นเพลงที่ต้องการ แต่ถ้าต้องการนำขลุ่ยไปเป่าตามเพลงที่นักร้องร้องหรือกับBacking Trackหรือร่วมวงกับเครื่องดนตรีอื่นๆ สิ่งสำคัญต้องรู้ว่าเสียงที่ออกจากขลุ่ยอยู่ในคีย์ที่ตรงกับเสียงของเครื่องดนตรีอื่นไหม ถ้าไม่ตรงต้องปรับอย่างไร

หลักการเป่าขลุ่ยคีย์ใดๆก็ให้ไล่โน้ตเหมือนกับเป่าขลุ่ยคีย์C คือถ้าเปิดทุกรูก็ให้เป็นโน้ตตัวโด เปิด1รูล่างเป็นตัวเร เป็นต้น วิธีนี้จะง่ายในการจดจำโน้ตคือเราจำโน้ตเพลงรูปแบบเดียว เราก็ไปเป่ากับขลุ่ยได้ทุกคีย์ เพียงแต่เสียงออกมาก็จะเปลี่ยนไปตามคีย์ของขลุ่ยเท่านั้นเอง

ขลุ่ยคีย์Cกับขลุ่ยคีย์Bbเป็นคีย์ที่มีขายในท้องตลาด ส่วนคีย์อื่นๆจะหายากหรือต้องสั่งทำพิเศษ
ขลุ่ยคีย์Cเป็นขลุ่ยคีย์มาตรฐานที่ควรจะมีไว้สำหรับท่านที่เป่าขลุ่ยเพลงสากล
 โน้ตเพลงที่เป็นคีย์C เมื่อใช้ขลุ่ยคีย์อะไรเป่าก็จะเสียงที่เป่าออกมาเป็นคีย์ตามคีย์ของขลุ่ยนั้น
               เมื่อใช้ขลุ่ยคีย์หนึ่งเป่าโน้ตเพลงคีย์หนึ่ง เมื่อเปลี่ยนเป็นขลุ่ยคีย์ใหม่ เสียงที่ออกมาจะได้คีย์ที่เปลี่ยนไปเท่ากับระยะห่างของคีย์ขลุ่ยทั้ง2นั้น
                 ถ้าต้องการเป่าเพลงเดิมในคีย์สูงหรือต่ำลง ทำได้ 2 วิธี คือ เปลี่ยนขลุ่ยคีย์ใหม่เลยหรือแปลงโน้ตเพลงเป็นคีย์ให้สูงขึ้นหรือต่ำลง
                แต่การเปลี่ยนคีย์เพลงอาจติดชาร์ปหรือแฟล็ตเพิ่มมาอีกทำให้วางนิ้วเป่าได้ลำบากขึ้นส่วนการมีขลุ่ยหลายคีย์จะทำได้ง่าย แต่ก็ต้องพกพาขลุ่ยหลายอัน

                ถ้ามีขลุ่ยอยู่เลาเดียว ต้องการเล่นเป่าเป็น2คีย์ก็สามารถทำได้ โดยทำโน้ตเพลงออกเป็น2ชุด ชุดแรกคือโน้ตเดิมและชุดที่2ทำการแปลงโน้ตเพลงที่มีอยู่เดิมเป็นคีย์ใหม่ให้สูงขึ้นอีก2ขั้นครึ่งเสียง เช่น ถ้าเรารู้ว่าโน้ตเพลงนั้นเป็นโน้ตเพลงคีย์C ก็แปลงให้เป็นคีย์Dได้ดังนี้ (ตามตารางโน้ตและคีย์ข้างบน)
คีย์C->คีย์D
ด ->
ร ->
ม -> #
ฟ ->
ซ ->
ล ->
ท -> #
 
                ขลุ่ย 2 ท่อนปรับเสียงไม่ ไม่ได้หมายความว่าสามารถปรับเสียงจากขลุ่ยตีย์หนึ่งไปเป็นขลุ่ยอีกคีย์หนึงได้ เป็นเพียงปรับเสียงขลุ่ยของเราให้เล่นเข้ากับเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆในวงได้ คือปรับให้ต่ำลงได้ประมาณ 10-20 % เท่านั้น เพราะโดยธรรมชาติของขลุ่ยไม้เมื่อใช้ไปสักระยะหนึ่ง เสียงจะเพี้ยนสูงขึ้นไม่มากก็น้อย แต่ถ้าเป็นขลุ่ย 2 ท่อนก็สามารถปรับไสลด์จูนโดยดึงออกมา เสียงก็จะต่ำลงปรับให้เข้ากับเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆ ก็แค่นั้นเองนะครับ แต่จะปรับถึงขนาดเปลี่ยนคีย์ของขลุ่ยได้นั้นทำไม่ได้หรอกครับ ถ้าเป็นขลุ่ยท่อนเดียวเมื่ออยู่ไปนานเข้าเสียงเพี้ยนสูงขึ้นก็ต้องส่งให้ช่างขลุ่ยปรับเสียงใหม่ครับ ยิ่งใครมีขลุ่ยมากเลารับรองได้ว่าปวดหัวเลยครับ ถ้าใครมีจูนเนอร์อยู่ลองtestเสียงดูได้เลยว่ามันเพี้ยนสูงขึ้นเสมอเมื่ออยู่นานเข้า ต้นเหตุคือการ เซทตัวของไม้ ด้วยเหตุนี้ผมจึงพยายามเรียนรู้การปรับจูนขลุ่ยให้ได้ด้วยตัวเอง ถ้าเป็นขลุ่ยเสียงไทยถึงแม้เสียงไม่เพี้ยนหรือเพี้ยนไม่มากแต่ก็จะมีผลให้เสียงควงเพี้ยนไม่ลงตัวได้

การเลือกขลุ่ย

                     
                                            ที่มา : http://tkapp.tkpark.or.th/stocks/content
                การเลือกซื้อขลุ่ยนั้น ผู้ซื้อควรจะมาทดสอบเป่าขลุ่ยเอง เพราะขลุ่ยแต่ละเลานั้นทำด้วยมือดังนั้น อาจจะมีขลุ่ยที่ผู้เป่าชื่นชอบเพราะได้มาทดสอบด้วยตนเอง ส่วนขลุ่ยที่สามารถเป่าเข้าได้กับทุกเพลงนั้น ถ้าเป็นขลุ่ยสากลส่วนใหญ่เสียงจะเข้าได้กับทุกเพลงอยู่แล้วขึ้นอยู่กับผู้เป่าที่สามารถไล่เสียงตามสเกลเสียงได้อย่างคล่องแคล่วสำหรับท่านที่เริ่มหัด ยังไม่ต้องหาขลุ่ย ราคาแพง ๆ เลย ให้ใช้ขลุ่ย ท่อ พีวีซี ที่ขายกันทั่วไป มาฝึกฝนก่อน เมื่อคุ้นเคยกับการใช้ลม การใช้นิ้ว การบังคับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในการเป่าขลุ่ย ทำเป็นสักระยะหนึ่งแล้ว จึงค่อยไปเลือกซื้อขลุ่ย ก็ได้ จะทำให้ได้ขลุ่ย ที่ดีที่เหมาะกันตนเอง เพราะ ขลุ่ยแต่ละช่าง แต่ละเลา มีความเหมาะสม กับแต่ละคนนะครับ บางคนชอบลมหนัก บางคนชอบลมเบา มีรายละเอียดมากมาย

ขลุ่ยที่ดีควรพิจารณาสิ่งอื่นๆประกอบดังนี้

          1.เสียง ขลุ่ยที่ใช้ได้ดีเสียงต้องไม่เพี้ยนตั้งแต่เสียงต่ำสุดไปจนถึงเสียงสูงสุด คือทุกเสียงต้องห่างกันหนึ่งเสียงตามระบบของเสียงไทย เสียงคู่แปดจะต้องเท่ากันหรือเสียงเลียนเสียงจะต้องเท่ากัน หรือนิ้วควงจะต้องตรงกัน เสียงแท้เสียงต้องโปร่งใสมีแก้วเสียงไม่แหนพร่าหรือแตก ถ้านำไปเล่นกับเครื่องดนตรีที่มีเสียงตายตัว เช่น ระนาดหรือฆ้องวงจะต้องเลือกขลุ่ยที่มีระดับเสียงเข้ากับเครื่องดนตรีเหล่านั้น
               2.ลม ขลุ่ยที่ดีต้องกินลมน้อยไม่หนักแรงเวลาเป่าซึ่งสามารถระบายลมได้ง่าย
       3.ลักษณะของไม้ที่นำมาทำ จะต้องเป็นไม้ที่แก่จัดหรือแห้งสนิท โดยสังเกตจากเสี้ยนของไม้ควรเป็นเสี้ยนละเอียดที่มีสีน้ำตาลแก่ค่อนข้างดำ ตาไม้เล็กๆเนื้อไม่หนาหรือบางจนเกินไป คือต้องเหมาะสมกับประเภทของขลุ่ยว่าเป็นขลุ่ยอะไร ในกรณีที่เป็นไม้ไผ่ถ้าไม้ไม่แก่จัดหรือไม่แห้งสนิท เมื่อนำมาทำเป็นขลุ่ยแล้วต่อไปอาจแตกร้าวได้ง่าย เสียงจะเปลี่ยนไป และมอดจะกินได้ง่าย
       4.ดาก ควรทำจากไม้สักทอง เพราะไม่มีขุยหรือขนแมวขวางทางลม การใส่ดากต้องไม่ชิดหรือห่างขอบไม้ไผ่จนเกินไปเพราะถ้าชิดจะทำให้เสียงทึบ ตื้อ ถ้าใส่ห่างจะทำให้เสียงโว่งกินลมมาก
        5.รูต่างๆบนเลาขลุ่ย จะต้องเจาะอย่างประณีตขนาดความกว้างของรูต้องเหมาะกับขนาดของไม้ไผ่ไม่กว้างเกินไป
          ขลุ่ยในสมัยก่อนรูต่างๆ ที่นิ้วปิดจะต้องกว้านด้านในให้เว้า คือผิวด้านในรูจะกว้างกว่าผิวด้านนอก แต่ปัจจุบันไม่ได้กว้านภายในรูเหมือนแต่ก่อนแล้ว ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากคนทำขลุ่ย ต้องผลิตขลุ่ยคราวละมากๆ ทำให้ละเลยในส่วนนี้ไป
         6.ควรเลือกขลุ่ยที่มีขนาดพอเหมาะกับนิ้วของผู้เป่า กล่าวคือ ถ้าผู้เป่ามีนิ้วมือเล็กหรือบอบบางก็ควรเลือกใช้ขลุ่ยเลาเล็ก ถ้าผู้เป่ามีมืออวบอ้วน ก็ควรเลือกใช้ขลุ่ยขนาดใหญ่พอเหมาะ
         7.ลักษณะประกอบอื่นๆ เช่น สีผิวของไม้สวยงาม ไม่มีตำหนิ ขีดข่วน เทลายได้สวยละเอียด แต่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้มีผลกระทบกับเสียงขลุ่ยแต่อย่างใด เพียงพิจารณาเพื่อเลือกให้ได้ขลุ่ยที่ถูกใจเท่านั้น
        8.ทดลองเป่าได้ โดยให้ปิดรูหมดทุกรู แล้วทดลองเป่าเบา ๆ จนออกมาเป็นเสียง โดต่ำ ที่ไม่ออกเสียงหวีด หรือ เสียงสูง พุดง่ายคือเป่าเสียง โดต่ำ ได้ง่ายดีหรือไม่ เพราะ ระดับเสียงสูงเป่าได้ง่ายกว่าเสียงต่ำ จากนั้นก็พิจารณาดูความละเอียดในการทำว่า ละเอียดดีหรือไม่ ที่สำคัญที่สุด คือ ตรงปากเป่าที่ ดากที่เป็นตัวประกอบให้ดูว่าสนิทกันดีหรือไม่   จากนั้นก็ลองชั่งน้ำหนักดูว่าหนักไหม ควรเลือกตัวทีมีน้ำหนักมากกว่า เพราะแสดงให้เห็นว่าใช้วัสดุที่ดีกว่า มีความหนาแน่นมากกว่า

    ลิงก์เพจ facebook

ซึง


             
          ซึงนับเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนาที่มีลักษณะเรียบง่าย ชาวบ้านสามารถทำขึ้นไว้เล่นเองได้และในปัจจุบันก็ยังเป็นเครื่องดนตรีที่มีขายอย่างแพร่หลายอีกด้วย มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับพิณ หรือซุง ของภาคอีสาน ในบางท้องที่เรียกเครื่องดนตรีนี้ว่าพิณ รูปลักษณะของวึงนั้นหากเปรียบเทียบกับดนตรีของชาติอื่นๆ ก็จะพบว่าคล้ายกระจับปี่ของจีน หรือคล้ายกับกีต้าร์ หรือแมนโดลีน อันเป็นเครื่องดนตรีสากลด้วย ซึงมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้

  1. โรงเสียง

                (อ่าน โฮงเสียง ) คือต้นกำเนิดเสียงซึ่งมีลักษณะเป็นไม้กลวงข้างใน นิยมใช้ไม้เนื้ออ่อนหรือไม้สักทั้งท่อนท าเพราะอาจขูดเนื้อไม้ท าเป็นกล่องเสียงได้ง่าย โดยคว้านข้างในให้กลวงเป็นรูปวงรีเหลือขอบโดยรอบกับพื้นกล่องเสียงซึ่งไม่หนามากนัก ความหนาของกล่องเสียงขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ที่จะใช้ทำและขนาดของซึงที่ต้องการ เท่าที่พบโดยทั้วไปประมาณ 2-3 นิ้ว

2. ตาดซึง

                คือแผ่นไม้บางปิดหน้าโรงเสียง เจาะรูกว้างพอประมาณบริเวณใกล้ศูนย์กลางค่อนไปทางคอเสียงเล็กน้อยเพื่อเป็นทางออกของเสียง 

3. คอซึง

                มีลักษณะเป้นคันยาวยื่นต่อจากตัวกล่องเสียงอาจเป็นไม่ท่อนเดียวกันกับที่ใช้ท ากล่องเสียงหรือท าแยกส่วนเป็นคนละชิ้นก็ได้ ถ้าไม่ได้ใช้ชิ้นเดียวกันกับที่ทำตัวกล่องเสียงแล้ว ส่วนนี้จะนิยมทำด้วยไม้เนื้อแข็งเพื่อให้ทนทานและเสียงที่ดังออกมาไพเราะ ตอนลายของคอจะมีลูกบิดเสียบไว้ บนคอ ซึงติดท่อนไม้เล็กๆ เรียกว่า ลุกซึง หรือ นม เป็นระยะๆ เรียงตามความยาวของคอจนใกล้ถึงตัวกล่องเสียงจำนวนลุกซึงไม่แน่นอน แต่มาตราฐานทั่วไปนิยมติด 9 อัน โดยขัดเว้นระยะตามขอบเขตของเสียงที่เกิดขึ้น 

4. ค็อบซึง

             คือหย่องที่เป็นไม้หมอนซึ่งเป็นไม่ท่อนเล้ก อยุ่ระหว่างช่องระบายเสียงกับตรงเกือบล่างสุดขอบตัวกล่องเสียง

5. สายซึง

                สายซึงเป็นเส้นทองเหลือง ซึ่งแต่เดิมนั้นนิยมใช้สายห้ามล้อจักรยานมาท า ปัจจุบันอาจพบว่ามีการนำเอาสายกีต้าร์มาใช้แทน ซึงมี 4 สาย ซึ่งแยกกันเป็น 2 คู่ เวลาดีดจะดีดทีละคู่ )ขึงจาก ค๊อบ(ก๊อบ)รองสายโดยขึงผ่านกลางกล่องเสียงไปยังลุกบิด การดีดมักใช้เขาสัตร์หรือพลาสติกทำเป็นชิ้นบางขนาดไม่ใหญ่นักเป้นที่ดีด โดยดีดตรงบริเวณที่มีสายขึงอยู่ใกล้รูที่เจาะไว้ มืออีกข้างหนึ่งจับคอซึงและใช้นิ้วกดสายลงไปให้แนบกับลุกซึงเพื่อให้เกิดเสียงตามที่ต้องการ

6. หลักซึง

                คือลูกบิดที่ขันสายซึงให้ตังหรือหย่อยตามต้องการ

VDO แสดงการเล่นซึง


ประเภทของซึง

                ซึง โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ แบ่งตามขนาดและแบ่งตามการตั้งเสียง
1. แบ่งตามขนาดนิยมแบ่งเป็น 3 ขนาด คือ
                a. ซึงใหญ่ ความกว้างของกล่องเสียงประมาร 12 นิ้ว หนาประมาร 3 นิ้ว ยาวประมาร 18นิ้ว
                b. ซึงกลาง ความกว้างของกล่องเสียงประมาณ 10 นิ้ว หนาประมาณ 2.5 นิ้ว ยาวประมาณ15 นิ้ว
                c. ซึงเล็ก ความกว้างของกล่องเสียงประมาณ 8 นิ้ว หนาประมาณ 2 นิ้ว ยาวประมาณ 12 นิ้ว
2. แบ่งตามการตั้งเสียง เป็น 2 ลักษณะ
                a. ซึงลุกสาม ตั้งเสียงโด-วอล โดยตั้งสายทุ้มเป็นเสียงโด ตั้งสายเอกเป็นเสียงซอล ซึงลูกสามมักเป็นซึงใหญ่และซึงเล็ก
                b. ซึงลูกสี่ ตั้งเสียง ซอล-โด โดยตั้งสายทุ้มเป็นเสียงซอล ตั้งสายเอกเป็นเสียงโด ซึงลูกสี่มักจะเป็นวึงกลาง
บทบาทและลีลา
                 การบรรเลงผสมวงนั้น ซึ่งแต่ละตัวย่อมมีบทบาทและมีลีลาในการบรรเลงที่ต่างกันไป ไม่ซ้ำกันดังนี้
วงสะล้อ-ซึง
               - ซึงใหญ่ มีบทบาทคล้ายผุ้สุงอายุ เสียงทุ้มต่ำ ลีลาในการบรรเลงจึงมักสอดรับกับซึงตัวอื่นๆ เสียงส่วนใหญ่ หน้าที่ของซึงใหญ่จึงคล้ายกีต้ารืเบสของดนตรีสากล
                - ซึงกลาง บทบาทคล้ายกับวัยกลางคน วางเสียงหนัก ไปทางคุมจังหวะพร้อมกับสอดลูกเล่นล้อ และรับกับซึงใหญ่และซึงเล็กสลับกันไป
                - ซึงเล้ก บทบาทคล้ายคนวัยคะนอง เสียงแหลมเล็กลูกเล่นแพรวพราว ลีลาล้อและรับกับซึงใหญ่ ซึงกลาง สะล้อและขลุ่ย
ที่มา : http://lib.payap.ac.th/webin/ntic/web_lanna_instruments/articles/sung.pdf


สะล้อ


                สะล้อเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองล้านนาชนิดหนึ่ง เป็นประเภทเครื่องสีซึ่งมีทั้ง 2 สายและ 3สาย คันชักสำหรับสีจะอยู่ข้างนอกเหมือนคันชักซอสามสาย สะล้อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สะล้อหรือทะล้อ มีรูปร่างคล้ายซออู้ของภาคกลาง ใช้ไม้แผ่นบาง ๆ ปิดปากกะลาทำหลักที่หัวสำหรับพาดทองเหลือง ด้านหลังกะโหลกเจาะเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ เช่น รูปหนุมาน รูปหัวใจ ส่วนด้านล่างของกะโหลก เจาะทะลุลง ข้างล่าง เพื่อสอดคันทวนที่ทำด้วยไม้ชิงชัน ยาวประมาณ 64 ซม ตรงกลางคันทวนมีรัดอกทำด้วยหวาย ปลายคันทวนด้านบนเจาะรูสำหรับสอดลูกบิด ซึ่งมี 2 หรือ 3 อัน สำหรับขึงสายซอ จากปลายลูกบิดลงมาถึงด้านกลางของกะโหลกมีหย่องสำหรับ หนุนสายสะล้อเพื่อให้เกิดเสียงเวลาสี คันชักสะล้อทำด้วยไม้ดัดเป็นรูปโค้ง ขึงด้วยหางม้าหรือพลาสติก เวลาสีใช้ยางสนถูทำให้เกิดเสียงได้
                สะล้อใช้บรรเลงประกอบการแสดงหรือบรรเลงร่วมกับบทร้องและทำนองเพลงได้ทุกชนิดเช่น เข้ากับปี่ในวงช่างซอ เข้ากับซึงในวงพื้นเมือง หรือใช้เดี่ยวคลอร้องก็ได้



ประเภทของสะล้อสะล้อมี 3 ประเภทคือ

               1.สะล้อใหญ่ มี 3 สาย ตั้งเรียงคู่สี่และคู่สามร่วมกันหากเทียบกับเสียงดนตรีสากลคือ เสียงโด ซอลโด
 2. สะล้อกลาง มี 2 สาย ตั้งเสียงคู่สี่ เทียบกับเสียงดนตรีสากล สายเอกคือ เสียงโด สายทุ้มคือเสียงซอล
 3. สะล้อเล็ก มี 2 สาย ตั้งเสียงคู่สาม เทียบกับเสียงดนตรีสากล สายเอกคือ เสียงซอล สายทุ่มคือเสียง โด ที่นิยมบรรเลงกันแพร่หลายคือ สะล้อกลางและสะส้อเล็ก ส่วนสะล้อใหญ่ไม่เป็นที่นิยม

การทำสะล้อ

                 การท าสะล้อ ไม่ปรากฏสูตรตายตัว ส่วนใหญ่ท าขึ้นโดยอาศัยเลียนแบบจากของเก่าและประสบการณ์ทางเสียงและรูปลักษณะ แต่พอจะอนุมานขนาดของสะล้อได้จากที่ปรากฏโดยทั่วไปดังนี้
         - สะล้อใหญ่ หน้ากะโหลกกว้าง ประมาณ 5.5 นิ้ว คันสะล้อวัดจากกะโหลกถึงหลักสะล้อยาวประมาณ 15 นิ้ว
         - สะล้อกลาง หน้ากะโหลกกว้าง ประมาณ 4.5 นิ้ว คันสะล้อวัดจากกะโหลกถึงหลักสะล้อยาวประมาณ 13.5 นิ้ว
         - สะล้อเล็ก หน้ากะโหลกกว้าง ประมาณ 3.5 นิ้ว คันสะล้อวัดจากกะโหลกถึงหลักสะล้อยาว

บทบาทและลีลา


สะล้อใหญ่ มีลักษณะร่วมทางเสียงระหว่างสะล้อเล็ก และสะล้อกลางแต่เสียงทุ้มต่ า บทบาทคล้ายคนมีอายุมากไม่ค่อยมีลีลาและลูกเล่นมากนัก
สะล้อกลาง บทบาทคล้ายคนวัยกลางคน มีลีลาสอดรับกับสะล้อใหญ่และสะล้อเล็ก
สะล้อเล็ก บทบาทคล้ายคนวัยคะนอง มีเสียงแหลมเล็ก ลีลาโลดโผนล้อ และรับเสียงสะล้อกลาง ซึงและขลุ่ย

สะล้อเมืองน่าน

                 สะล้ออีกประเภทหนึ่งได้แก่ สะล้อที่นิยมเล่นในจังหวัดน่านและแพร่ สะล้อดังกล่าวมีลักษณะต่างออกไปคือ มีลูก (นม) บังคับเสียงใช้บรรเลงร่วมกับซึงเรียกว่า พิณ” (อ่านว่า ปิน”)ประกอบการขับซอน่าน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ
               สะล้อที่กล่าวมาทั้งหมดนิยมบรรเลงร่วมในวงสะล้อ-ซึง หรือเรียกกันว่าวง สะล้อ ซอ ซึง” ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในภาคเหนือตอนบน

     ลิงก์เพจ facebook