วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

ซึง


             
          ซึงนับเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนาที่มีลักษณะเรียบง่าย ชาวบ้านสามารถทำขึ้นไว้เล่นเองได้และในปัจจุบันก็ยังเป็นเครื่องดนตรีที่มีขายอย่างแพร่หลายอีกด้วย มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับพิณ หรือซุง ของภาคอีสาน ในบางท้องที่เรียกเครื่องดนตรีนี้ว่าพิณ รูปลักษณะของวึงนั้นหากเปรียบเทียบกับดนตรีของชาติอื่นๆ ก็จะพบว่าคล้ายกระจับปี่ของจีน หรือคล้ายกับกีต้าร์ หรือแมนโดลีน อันเป็นเครื่องดนตรีสากลด้วย ซึงมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้

  1. โรงเสียง

                (อ่าน โฮงเสียง ) คือต้นกำเนิดเสียงซึ่งมีลักษณะเป็นไม้กลวงข้างใน นิยมใช้ไม้เนื้ออ่อนหรือไม้สักทั้งท่อนท าเพราะอาจขูดเนื้อไม้ท าเป็นกล่องเสียงได้ง่าย โดยคว้านข้างในให้กลวงเป็นรูปวงรีเหลือขอบโดยรอบกับพื้นกล่องเสียงซึ่งไม่หนามากนัก ความหนาของกล่องเสียงขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ที่จะใช้ทำและขนาดของซึงที่ต้องการ เท่าที่พบโดยทั้วไปประมาณ 2-3 นิ้ว

2. ตาดซึง

                คือแผ่นไม้บางปิดหน้าโรงเสียง เจาะรูกว้างพอประมาณบริเวณใกล้ศูนย์กลางค่อนไปทางคอเสียงเล็กน้อยเพื่อเป็นทางออกของเสียง 

3. คอซึง

                มีลักษณะเป้นคันยาวยื่นต่อจากตัวกล่องเสียงอาจเป็นไม่ท่อนเดียวกันกับที่ใช้ท ากล่องเสียงหรือท าแยกส่วนเป็นคนละชิ้นก็ได้ ถ้าไม่ได้ใช้ชิ้นเดียวกันกับที่ทำตัวกล่องเสียงแล้ว ส่วนนี้จะนิยมทำด้วยไม้เนื้อแข็งเพื่อให้ทนทานและเสียงที่ดังออกมาไพเราะ ตอนลายของคอจะมีลูกบิดเสียบไว้ บนคอ ซึงติดท่อนไม้เล็กๆ เรียกว่า ลุกซึง หรือ นม เป็นระยะๆ เรียงตามความยาวของคอจนใกล้ถึงตัวกล่องเสียงจำนวนลุกซึงไม่แน่นอน แต่มาตราฐานทั่วไปนิยมติด 9 อัน โดยขัดเว้นระยะตามขอบเขตของเสียงที่เกิดขึ้น 

4. ค็อบซึง

             คือหย่องที่เป็นไม้หมอนซึ่งเป็นไม่ท่อนเล้ก อยุ่ระหว่างช่องระบายเสียงกับตรงเกือบล่างสุดขอบตัวกล่องเสียง

5. สายซึง

                สายซึงเป็นเส้นทองเหลือง ซึ่งแต่เดิมนั้นนิยมใช้สายห้ามล้อจักรยานมาท า ปัจจุบันอาจพบว่ามีการนำเอาสายกีต้าร์มาใช้แทน ซึงมี 4 สาย ซึ่งแยกกันเป็น 2 คู่ เวลาดีดจะดีดทีละคู่ )ขึงจาก ค๊อบ(ก๊อบ)รองสายโดยขึงผ่านกลางกล่องเสียงไปยังลุกบิด การดีดมักใช้เขาสัตร์หรือพลาสติกทำเป็นชิ้นบางขนาดไม่ใหญ่นักเป้นที่ดีด โดยดีดตรงบริเวณที่มีสายขึงอยู่ใกล้รูที่เจาะไว้ มืออีกข้างหนึ่งจับคอซึงและใช้นิ้วกดสายลงไปให้แนบกับลุกซึงเพื่อให้เกิดเสียงตามที่ต้องการ

6. หลักซึง

                คือลูกบิดที่ขันสายซึงให้ตังหรือหย่อยตามต้องการ

VDO แสดงการเล่นซึง


ประเภทของซึง

                ซึง โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ แบ่งตามขนาดและแบ่งตามการตั้งเสียง
1. แบ่งตามขนาดนิยมแบ่งเป็น 3 ขนาด คือ
                a. ซึงใหญ่ ความกว้างของกล่องเสียงประมาร 12 นิ้ว หนาประมาร 3 นิ้ว ยาวประมาร 18นิ้ว
                b. ซึงกลาง ความกว้างของกล่องเสียงประมาณ 10 นิ้ว หนาประมาณ 2.5 นิ้ว ยาวประมาณ15 นิ้ว
                c. ซึงเล็ก ความกว้างของกล่องเสียงประมาณ 8 นิ้ว หนาประมาณ 2 นิ้ว ยาวประมาณ 12 นิ้ว
2. แบ่งตามการตั้งเสียง เป็น 2 ลักษณะ
                a. ซึงลุกสาม ตั้งเสียงโด-วอล โดยตั้งสายทุ้มเป็นเสียงโด ตั้งสายเอกเป็นเสียงซอล ซึงลูกสามมักเป็นซึงใหญ่และซึงเล็ก
                b. ซึงลูกสี่ ตั้งเสียง ซอล-โด โดยตั้งสายทุ้มเป็นเสียงซอล ตั้งสายเอกเป็นเสียงโด ซึงลูกสี่มักจะเป็นวึงกลาง
บทบาทและลีลา
                 การบรรเลงผสมวงนั้น ซึ่งแต่ละตัวย่อมมีบทบาทและมีลีลาในการบรรเลงที่ต่างกันไป ไม่ซ้ำกันดังนี้
วงสะล้อ-ซึง
               - ซึงใหญ่ มีบทบาทคล้ายผุ้สุงอายุ เสียงทุ้มต่ำ ลีลาในการบรรเลงจึงมักสอดรับกับซึงตัวอื่นๆ เสียงส่วนใหญ่ หน้าที่ของซึงใหญ่จึงคล้ายกีต้ารืเบสของดนตรีสากล
                - ซึงกลาง บทบาทคล้ายกับวัยกลางคน วางเสียงหนัก ไปทางคุมจังหวะพร้อมกับสอดลูกเล่นล้อ และรับกับซึงใหญ่และซึงเล็กสลับกันไป
                - ซึงเล้ก บทบาทคล้ายคนวัยคะนอง เสียงแหลมเล็กลูกเล่นแพรวพราว ลีลาล้อและรับกับซึงใหญ่ ซึงกลาง สะล้อและขลุ่ย
ที่มา : http://lib.payap.ac.th/webin/ntic/web_lanna_instruments/articles/sung.pdf


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น