วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ประวัติดนตรีไทย






         จากการสันนิษฐานของท่านผู้รู้ทางด้าน ดนตรีไทย โดยการพิจารณาหาเหตุผล เกี่ยวกับกำเนิด หรือที่มาของ ดนตรีไทย ก็ได้มีผู้เสนอแนวทัศนะในเรื่องนี้ไว้ 2 ทัศนะ ที่แตกต่างกันคือ
         ทัศนะที่ 1 สันนิษฐานว่า ดนตรีไทย ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เนื่องจากอินเดีย เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก อารยธรรมต่าง ๆ ของอินเดียได้เข้ามามีอิทธิพล ต่อประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียอย่างมาก ทั้งในด้าน ศาสนา ประเพณีความเชื่อ ตลอดจน ศิลป แขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านดนตรี ปรากฎรูปร่างลักษณะ เครื่องดนตรี ของประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย เช่น จีน เขมร พม่า อินโดนิเซีย และ มาเลเซีย มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน เป็นส่วนมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากประเทศเหล่านั้นต่างก็ยึดแบบฉบับดนตรี ของอินเดีย เป็นบรรทัดฐาน รวมทั้งไทยเราด้วย เหตุผลสำคัญที่ท่านผู้รู้ได้เสนอทัศนะนี้ก็คือ ลักษณะของ เครื่องดนตรีไทย สามารถจำแนกเป็น 4 ประเภท คือ
-           เครื่องดีด
-          เครื่องสี
-            เครื่องตี
-          เครื่องเป่า
    ใกล้เคียงกับลักษณะ เครื่องดนตรี อินเดียตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ "สังคีตรัตนากร" ของอินเดีย ซึ่งจำแนกเป็น 4 ประเภท เช่นกันคือ
-          ตะตะ คือ เครื่องดนตรี ประเภทมีสาย
-          สุษิระ คือ เครื่องเป่า
-          อะวะนัทธะ หรือ อาตตะ คือ เครื่องหุ้มหนัง หรือ กลอง ต่าง ๆ
-          ฆะนะ คือ เครื่องตี หรือ เครื่องกระทบ
                   การสันนิษฐานเกี่ยวกับ กำเนิดหรือที่มาของ ดนตรีไทย ตามแนวทัศนะข้อนี้ เป็นทัศนะที่มีมาแต่เดิม นับตั้งแต่ ได้มีผู้สนใจ และ ได้ทำการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับ เรื่องนี้ขึ้น และนับว่า เป็นทัศนะที่ได้รับการนำมากล่าวอ้างกันมาก บุคคลสำคัญที่เป็นผู้เสนอแนะแนวทางนี้คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งวงการประวัติศาสตร์ของไทย
         ทัศนะที่ 2 สันนิษฐานว่า ดนตรีไทย เกิดจากความคิด และ สติปัญญา ของคนไทย เกิดขึ้นมาพร้อมกับคนไทย ตั้งแต่ สมัยที่ยังอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนแล้ว ทั้งนี้เนื่องจาก ดนตรี เป็นมรดกของมนุษยชาติ ทุกชาติทุกภาษาต่างก็มี ดนตรี ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ของตนด้วยกันทั้งนั้น ถึงแม้ว่าในภายหลัง จะมีการรับเอาแบบอย่าง ดนตรี ของต่างชาติเข้ามาก็ตาม แต่ก็เป็น การนำเข้ามาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม กับลักษณะและนิสัยทางดนตรีของคนในชาตินั้น ๆ ไทยเราตั้งแต่สมัยที่ยังอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ก็คงจะมี ดนตรี ของเราเองเกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้ จะสังเกตเห็นได้ว่า เครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทย จะมีชื่อเรียกเป็นคำโดด ซึ่งเป็นลักษณะของคำไทยแท้ เช่น


-         เกราะ, โกร่ง, กรับ
-          ฉาบ, ฉิ่ง
-         ปี่, ขลุ่ย
-         ฆ้อง, กลอง .. เป็นต้น

         ต่อมาเมื่อไทยได้ อพยพ ลงมาตั้งถิ่นฐานในแถบแหลมอินโดจีน จึงได้มาพบวัฒนธรรมแบบอินเดียโดยเฉพาะเครื่องดนตรีอินเดีย ซึ่งชนชาติมอญ และ เขมร รับไว้ก่อนที่ไทยจะอพยพเข้ามา ด้วยเหตุนี้ ชนชาติไทยซึ่งมีนิสัยทางดนตรีอยู่แล้ว จึงรับเอาวัฒนธรรมทางดนตรีแบบอินเดีย ผสมกับแบบมอญและเขมร เข้ามาผสมกับดนตรีที่มีมาแต่เดิมของตน จึงเกิดเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีก ได้แก่
-       พิณ
-       สังข์
-       ปี่ไฉน
-        บัณเฑาะว์
-          กระจับปี่ และจะเข้ เป็นต้น
         ต่อมาเมื่อไทยได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมอินโดจีนอย่างมั่นคงแล้ว ได้มีการติดต่อ สัมพันธ์ กับประเทศเพื่อนบ้านในแหลมอินโดจีน หรือแม้แต่กับประเทศทางตะวันตกบางประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขาย ทำให้ไทยรับเอาเครื่องดนตรีบางอย่างของประเทศต่างๆ เหล่านั้นมาใช้เล่นในวงดนตรีไทย ด้วย เช่น กลองแขก ปี่ชวา ของชวา (อินโดนิเซีย) กลองมลายู ของมลายู (มาเลเซีย) เปิงมาง ตะโพนมอญ ปี่มอญ และฆ้องมอญของมอญ กลองยาวของพม่า ขิม ม้าล่อของจีน กลองมริกัน (กลองของชาวอเมริกัน) เปียโน ออร์แกน และ ไวโอลีน ของประเทศทางตะวันตก เป็นต้น


 ลิงก์เพจ facebook
ที่มา : http://pirun.ku.ac.th/~b521110058/Templates/prawat.html

ประวัติความเป็นดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ


ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ


ความเป็นมา
        ดนตรีพื้นบ้านเป็นดนตรีชาวบ้านสร้างสรรค์ขึ้นด้วนการร้องหรือบรรเลงโดยชาว บ้านและชาวบ้านด้วนกันเป็นผู้ฟัง ดนตรีพื้นบ้านมีลักษณะดังนี้
        1.เป็นดนตรีของชาวบ้าน ส่วนมากเกิดขึ้นและพัฒนาในสังคมเกษตรกรรม มีลักษณะที่ไม่มีระบบกฎเกณฑ์ชัดเจนตายตัว ประกอบกับใช้วิธีถ่ายทอดด้วนปากและการจดจำ จึงเป็นเหตุให้ไม่มีใครเอาใจใส่ศึกษาหรือจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานดังเช่น ดนตรีสากล
        2.เป็นดนตรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น แต่ละท้องถิ่นจะมีดนตรีที่มีสำเนียง ทำนอง และจังหวะลีลาของตนเอง ดนตรีพื้นบ้านส่วนใหญ่มีทำนองที่ประดิษฐ์ดัดแปลงมาจากทำนองของเสียงธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ซอของดนตรีภาคเหนือ คือ เพลงจะปุ มีทำนองอ่อนหวานตามสำเนียงพูดของคนไทยชาวเมืองจะปุในแคว้นสิบสองปันนาหรือ ซอล่องน่าน ของจังหวัดน่านมีทำนองเหมือนกระแสน้ำไหล
        มีข้อสังเกตว่า เครื่องดนตรีพื้นบ้านผลิตด้วยฝีมือช่างชาวบ้าน รูปแบบเครื่องดนตรี เครื่องดนตรีที่ทำเพื่อไว้ตีคนทุกคนไหนปะเทศไทยนะคับ




ลักษณะการบรรเลง
        ชาวบ้านล้านนาในอดีต มักนิยมใช้เวลาว่างในตอนกลางคืนให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะผู้หญิงสาว ภารกิจที่เป็นประโยชน์มักจะได้แก่ การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อเตรียมไปเพาะปลูกในวันรุ่งขึ้น บางทีก็ ไซ้(เลือก)พืชผลทางการเกษตรที่ผลิตออกมาเพื่อจำหน่าย จึงกลายเป็นจุดศูนย์กลางและการดึงดูดความสนใจของหนุ่ม และกลายเป็นศูนย์รวม นักแอ่วสาวทั้งหลายและดนตรีคู่กายชายหนุ่มย่อมนำมาใช้ตามความถนัด สันนิฐานว่าคงมีการนัดหมายเพื่อให้มาบรรเลง แนวเดียวกัน จึงเป็นการพัฒนาการขั้นแรกของการผสมวงดนตรี กลุ่มนักแอ่วสาวตามลานบ้านประกอบด้วยเครื่องดนตรี เปี๊ยะ สะล้อ ซึง ขลุ่ย ปี่ กลองพื้นเมือง (กลองโป่งป้ง) จึงกลายเป็นดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือโดยปริยาย นิยมเรียกตามชนิดของเครื่องดนตรีที่นำมาผสมเป็นวงว่า วงสะล้อซอซึง

ลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้าน


        ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารและสื่อความหมายอย่างดียิ่งประเภทหนึ่ง รองลงมาจากภาษา ทุกท้องถิ่นทั่วโลกจึงมีดนตรีและภาษาเป็นของตนเอง หากเราได้มีโอกาสศึกษาอย่างถ่องแท้ จะทราบได้ว่า ทั้งภาษาและดนตรีมีแหล่งกำนิดจากที่เดียวกัน เมื่อแพร่หลายกว้างขวางออกไปมากยิ่งขึ้น จึงเริ่มเกิดความแตกต่างเป็นดนตรีเฉพาะถิ่นหรือภาษาถิ่น
        วงดนตรีพื้นเมืองและนักดนตรีพื้นเมืองแต่ละท้องถิ่นนั้น นิยมบรรเลงกันตามท้องถิ่น และยึดเป็น อาชีพรองยังคงเล่นดนตรีแบบดั่งเดิม ทำนองเพลง ระเบียบวินัย และวิธีการเล่น จึงไม่ตรงตามหลักสากล จุดบกพร่องเหล่านี้ถือเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่น่าศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์และฟื้นฟู และมีวิธีการสืบทอดภูมิปัญญาสู่ชนรุ่นหลัง
                สะ ล้อ       ดนตรีไทยพื้นบ้านภาคกลางและภาคเหนือ ต่างมีแนวทางการอนุรักษ์ในรูปแบบเดียวกันคือวิทยาลัยนาฏศิลป วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ได้จัดทำเป็นหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ สำหรับภาคดนตรีไทย เปิดโอกาสให้นักเรียนที่สนใจเข้าศึกษาในระบบ แนวโน้มของการสูญหายไม่มีโอกาสเป็นไปได้ เนื่องจากวิทยาลัยนาฏศิลป วิทยาลัยนาฏ-ศิลปเชียงใหม่ ได้มีการผลิตบุคลากรทางด้านดนตรีทั้งสองชนิดอย่างต่อเนื่อง
 จากบทสัมภาษณ์อาจารย์ทั้งสองท่านซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ทางภาคเหนือ ได้แก่
            -   นางศิวาไลย์ ศรีสุดดี ครูชำนาญการ ภูมิลำเนาบ้านเลขที่ 32 วังดิน ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
          -   นายประชา คชเดช ครูชำนาญการ ภูมิลำเนาบ้านเลขที่ 49 หมู่ 8 บ้านหนองแก๋ว ตำบลหนองแก๋ว อำเภอหาง จังหวัดเชียงใหม่
        อาจารย์ทั้งสองท่านได้กรุณาแนะนำและเสนอแนะว่า การอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะแนวโน้มการศูนย์หายของดนตรี พื้นบ้านมีมากขึ้น นักเรียนและคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยนิยม แต่ถ้าหน่วยงานภาครัฐบาลสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนรวมทั้งจัดงบประมาณใน การจัดซื้อหรือตั้งหน่วยงานสอนทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านก็เป็นการอนุรักษ์อีก ทาง
        ปัจจุบันอาจารย์ทั้งได้ช่วยเรื่องการอนุรักษ์ โดยเป็นผู้สอนวิชาดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือในวิชาโทและชมรม ที่วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

        ด้านจังหวัดเชียงใหม่หน่วยงานหรือชุมชนที่ร่วมอนุรักษ์ได้แก่ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ชมรมดนตรีพื้นบ้าน วัดได้จัดชมรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้าน และจัดกิจกรรมส่งเสริมการบรรเลงในวันสงกรานต์โดยมีผู้สูงอายุเป็นผู้บรรเลง

 ลิงก์เพจ facebook

ที่มา : http://pirun.ku.ac.th/~b521110058/Templates/prawat.html

กลองสะบัดชัย




       
               กลองสะบัดชัย เป็นกลองพื้นเมืองภาคเหนือ สันนิษฐานว่าเป็นกลองที่ย่อส่วนดัดแปลงมาจากกลองปูจา หรือกลองบูชา โดยมีลูกตุบเป็นกลองขนาดเล็กอยู่ 3 ลูก ติดกับตัวกลองใบใหญ่ ถือว่าเป็นกลองศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ใช้ในการออกศึกสงคราม และประกอบพิธีกรรมต่างๆ มีวิธีการตีอยู่หลายทำนอง ส่วนใหญ่ใช้ตีในทางการศึก แต่ในการตีทำนองชนะศึกนั้นไม่ต้องมีลูกตุบ ภายหลังจึงได้เอาลูกตุบออกกลายมาเป็น กลองสะบัดชัยแบบไม่มีลูกตุบ ครั้นหลังจากหมดศึกสงคราม กลองส่วนใหญ่จะถูกเก็บรักษาไว้ที่วัด ในสมัยต่อมามีคนนำมาใช้ตีในโอกาสต่างๆ เพื่อเป็นพุทธบูชาด้วย
        
     เนื่องจากตัวกลองมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก ภายหลังเมื่อมีการนำไปเข้าในขบวนแห่ จึงได้ลดขนาดให้สามารถใช้คนหามได้ 2 คน โดยย่อขนาดให้ลดลงประมาณ 1 ใน 3 ส่วน อย่างที่เห็นใช้ในปัจจุบัน หน้ากลองสะบัดชัย โดยทั่วไปมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 ซม. ความกว้างของตัวกลองประมาณ 30 ซม. ขึงหนังสองหน้า รั้งด้วยเส้นเชือกหรือเส้นหนัง ไม้ที่ใช้ตีมี 2 ข้าง


         สำหรับลูกตุบปัจจุบันยังมีการใช้งานอยู่ ซึ่งทั้ง 3 ใบ มีขนาดแตกต่างกันไป ลูกใหญ่สุดหน้ากลองมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 ซม. ลูกรองลงมาประมาณ 22 ซม. และลูกเล็กประมาณ 20 ซม. ความยาวของหุ่นลูกตุบประมาณ 26 ซม. ขึ้นหนังหน้าเดียว โดยการตอกหมุดซึ่งทำด้วยไม้เป็นลิ่มเล็กๆ ตอกยึดไว้ให้เหลือปลายหมุดยื่นออกมาในลักษณะสลับฟันปลา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพัฒนาการของกลองสะบัดชัยพอสรุปได้เป็น 3 ยุค คือ
         ยุคแรก เป็นกลองสองหน้าขนาดใหญ่ มีลูกตุบ ที่มักเรียกว่า กลองปูจาหรือกลองบูชา แขวนอยู่ในหอกลองของวัดต่างๆ ลักษณะการตีมีจังหวะหรือทำนองทั้งช้าและเร็ว ใช้ประกอบศาสนกิจของสงฆ์
         ยุคหลังสงคราม ระหว่างไทยกับพม่า เป็นกลองสองหน้า มีลูกตุบ แต่มีการย่อส่วนตัวกลองใหญ่ให้เล็กลง มีคานหามเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายเรียกว่า กลองสะบัดชัยลูกตุบ เวลาตีมือข้างหนึ่งจะถือ ไม้แสะ ซึ่งทำจากหวายขนาดเล็กคล้ายไม้เรียวยาวประมาณ 40 ซม. อีกข้างหนึ่งจะถือไม้ตีกลอง อาจมีฉาบและฆ้องประกอบด้วยหรือไม่ก็ได้ ปัจจุบันเกือบสูญหายไปแล้ว มีผู้ที่ตีได้อยู่เพียงไม่มากนัก
         ยุคปัจจุบัน เป็นกลองสองหน้า ไม่มีลูกตุบ ใช้คนหาม 2 คน มีฉาบและฆ้องตีประกอบจังหวะ และมักจะใช้ไม้แกะเป็นรูปพญานาคทาสีสวยงามประดับไว้ที่ตัวกลองด้วย ส่วนลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผน เร้าใจ มีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีด้วย ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายมากในปัจจุบัน
         โอกาสในการใช้กลองสะบัดชัย ยังมีปรากฏให้เห็นในวรรณกรรมต่างๆ มากมาย เช่น ใช้ตีบอกสัญญาณ, ใช้แสดงเป็นมหรสพ, ใช้เป็นเครื่องประโคมฉลองชัยชนะ และใช้เป็นเครื่องประโคมเพื่อความสนุกสนาน ในปัจจุบันศิลปะการตีกลองสะบัดชัย ได้นำชื่อเสียงมาสู่วัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา อยู่ในฐานะตัวแทนทางวัฒนธรรม ซึ่งสามารถพบเห็นได้ในโอกาสต่างๆ เช่น งานขันโตก งานพิธีต้อนรับแขกเมือง ขบวนแห่ เป็นต้น

รูปร่างลักษณะกลองสะบัดชัย


       รูปร่างลักษณะแต่เดิมนั้น เท่าที่พบมีแห่งเดียว คือกลองสะบัดชัยจำลองทำด้วยสำริด ขุดพบที่วัดเจดีย์สูง ตำบลบ้านหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ กลองสะบัดชัยดังกล่าวประกอบด้วยขนาดกลองสองหน้าเล็ก 1 ลูก กลองสองหน้าขนาดใหญ่ 1 ลูก ฆ้องขนาดหน้ากว้างพอ ๆ กับกลองใหญ่อีก 1 ใบ พร้อมไม้ตีอีก 3 อัน หน้ากลองตรึงด้วยหมุดตัดเรียบมีคานหามทั้งกลองและฆ้องรวมกัน
              ส่วนที่พบโดยทั่วไป คือกลองสะบัดชัยที่แขวนอยู่ตามหอกลองของวัดต่าง ๆ ในเขตล้านนา ซึ่งมักจะมีลักษณะเหมือนกัน คือมีกลองสองหน้าขนาดใหญ่ 1 ลูก หน้ากว้างประมาณ 30
ในปัจจุบันมีการใช้กลองสะบัดชัย ตีในงานบุญ เช่น งานสลากภัตต์ ลักษณะนี้จะตีจังหวะเร่งเร็วเสมอต้นเสมอปลาย โดยมีคนใช้แส้ไม้ไผ่ที่เรียกว่าไม้แสะ ฟาดหน้ากลองด้วยจังหวะ แต่ไม่มีฉาบ และฆ้องประกอบ(ทำนองออกศึก) ลักษณะการตีดังกล่าวทั้งหมดเป็นการตีอยู่กับที่ ภายหลังเมื่อเข้าขบวนก็ได้ใช้จังหวะหรือทำนอง สะบัดชัยไม่ใช้ไม้แสะ(ทำนองชนะศึก)

ปัจจุบันนี้กลองสะบัดชัยคงเหลือไว้เป็นกลอง 3 ประเภท คือ
                1. กลองสองหน้าขนาดใหญ่ มีลูกตุบ ที่มักเรียกว่า กลองบูชา แขวนอยู่ในหอกลองของวัดต่างๆ ลักษณะการตีมีจังหวะหรือทำนองที่เรียกว่าระบำ ทั้งช้าและเร็ว บางระบำมีฉาบและฆ้อง บางระบำมีคนตีไม้แสะประกอบอย่างเดียว
                2. กลองสองหน้ามีลูกตุบและคานหาม เรียกว่ากลองชัย (สะบัดชัยลูกตุบ) เวลาตีผู้ตีจะถือไม้แสะข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่ง ถือไม้ตีกลอง การตีลักษณะนี้อาจมีฉาบและฆ้อง ประกอบ หรือไม่มีก็ได้ ปัจจุบันกลองสะบัดชัยประเภทนี้เกือบสูญหายไปแล้ว ผู้ที่ตีได้และยังมีชีวิตอยู่เท่าที่ทราบคือพ่อครูมานพ(พัน) ยารณะ ซึ่งเป็นศรัทธาวัดสันป่าข่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่
                3. กลองสองหน้า มีคานหาม ไม่มีลูกตุบ(กลองละบัดชัยสมัยใหม่) มีฉาบและฆ้องประกอบจังหวะ และมักมีนาคไม้แกะสลักประดับ ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นลายของพ่อครูคำ กาไวย์ ชาวบ้านแพะขวาง อ.หางดง จ.เชียงใหม่

ใช้ตีบอกสัญญาณ
 
                1.สัญญาณโจมตีข้าศึก

                2.สัญญาณบอกข่าวในชุมชน


เป็นเครื่องประโคมฉลองชัยชนะ

                วรรณกรรมเรื่องอุสสาบารส ผูกที่12 ตอนพระขิตราชรบศึกชนะก็มีการตีกลองสะบัดชัยเฉลิมฉลอง ‘' ส่วนว่าริพลโยธาพระขิตราชก็ตี กลองสะบัดชัย เหล้นม่วนโห่ร้องอุกขลุกมี่นันนัก เสียงสนั่นก้องใต้ฟ้าเหนือดินมากนัก    ปุนกระสันใจเมืองพานมากนัก หากได้แล้วก็ตีค้อง กลองสะบัดชัย สงวนม่วนเหล้น กวัดแก่วงดาบฟ้อนไปมา

      ลิงก์เพจ facebook




กลองตึ่งนง



กลองแอวเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองเหนือ ประเภทเครื่องตีชนิดขึงด้วยหนัง หน้าเดียว เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่าและชนชาติไทยใหญ่ จัดเป็น กลองประเภทเดียวกับกลองหลวง กลองปูเจ่ และกลองยาว เป็นกลองที่มีอยู่ประจำ วัด เพื่อใช้ในวงกลองแอวประกอบการฟ้อนเมืองหรือเข้าขบวนแห่ในงานบุญต่างๆ
กลองแอวมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลองตึ่งนงหรือ กลองตึ่งโนง

ลักษณะทั่วไป

กลองแอวมีลักษณะโดยทั่วไปเหมือนกับกลองหลวงทุกประการ แต่มีขนาดเล็ก กว่า ความยาววัดจากหนังหน้ากลองจนถึงปลายลำโพง ยาวประมาณ ๑๗๓ เซนติเมตร ตัวกลองวัดจากขอบหนังหน้ากลองจนถึงคอหรือเอวกลอง ยาวประมาณ ๗๓ เซนติเมตร จากคอหรือเอวกลองไปจนถึงปลายลำโพง ยาวประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร หน้ากลอง กว้างประมาณ ๒๙ เซนติเมตร ปลายลำโพงกว้างประมาณ ๓๒ เซนติเมตร หน้ากลอง ติดข้าวสุกผสมขี้เถ้า (จ่า) ถ่วงเสียงให้เกิดความไพเราะเวลาตี
คำว่า แอวภาษาพื้นเมืองเหนือหมายถึง สะเอวคำว่า กลองแอว จึงน่า จะหมายถึงกลองที่มีสะเอวนั่นเอง(เพราะมีลักษณะคอดกลางเหมือนสะเอว)
ที่ ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองฯ จังหวัดแพร่ มีกลองแอวที่มีขนาดสั้นกว่า คือ ยาวประมาณ ๙๐ เซนติเมตร หน้ากลองกว้างประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ปลายลำโพง กว้างประมาณ ๒๙ เซนติเมตร เวลาเล่นใช้สะพายเข้าสะเอวตีเหมือนกลองปูเจ่ ดังนั้น คำว่า กลองแอว จึงอาจมีความหมายว่า กลองที่ใช้สะพายเข้าสะเอวเวลาตี มากกว่า ที่หมายถึงกลองที่มีสะเอว

วิธีเล่น
ถ้าเป็นการเล่นโดยการเคลื่อนที่จะต้องใช้คนหาม ๒ คน หรือถ้าไม่เคลื่อนที่ก็ ต้องมีขาตั้ง เวลาเล่นประสมวง ที่ตัวกลองแอวจะมีกลองตะโล้ดโป้ดแขวนไว้ติดกับ ตัวกลองแอว เพื่อใช้ตีประกอบกันด้วย กลองแอวนั้นจะตีเป็นจังหวะด้วยไม้ตี เพื่อให้ ผู้ฟ้อนใช้จังหวะเป็นหลักในการฟ้อน

การประสมวง
กลองแอวตามปกติใช้เล่นประสมวงกัน เรียกว่า วงกลองแอว เล่นร่วมกับ เครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ ใช้ประกอบการฟ้อนเมือง


โอกาสที่ใช้
ใช้บรรเลงประกอบการฟ้อนเมือง (ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน) ในงาน ปอยหลวง แห่ครัวทาน บวชลูกแก้ว ฯลฯ เป็นต้น

กลองตะหลดปด





         กลองตะหลดปด เป็นกลองที่ขึงด้วยหนังสองหน้า ลักษณะการหุ้มหน้ากลองใช้สายเร่งเสียงดึง โดยโยงเสียงสอดสลับกันไปมาระหว่างหูหิ่งทั้งสองหน้า ตัวกลองมีลักษณะยาวคล้ายกลองแขก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ขุดเจาะโพรงภายในทั้งสองหน้าอยู่ในลักษณะบัวคว่ำและบัวหงาย มีท่อนำเสียงตรงกลาง
วิธีทำกลองตะหลดปด

     

      กลองตะหลดปดเป็นกลองสองหน้า ด้านที่หน้ากว้างกว่าอีกด้านหนึ่ง เรียกว่า หน้าใหญ่ส่วนอีกด้านหนึ่งจะแคบและเล็กกว่า เรียกว่า หน้าหน้อยการทำกลองตะหลดปดสมัยโบราณ ใช้ความกว้างของกลองหน้าใหญ่ เป็นตัวกำหนดความยาว ของตัวกลองคือความยาวของกลองประมาณ ๓ เท่าของหน้าใหญ่ เช่น หน้ากลองใหญ่กว้าง ๗ นิ้ว ตัวกลองจะยาวประมาณ ๒๑ นิ้ว แล้วขุดเจาะภายในให้มีลักษณะบัวคว่ำและบัวหงาย โดยเจาะโพรงให้ลึกเท่ากับความกว้างของหน้ากลองแต่ละหน้า กล่าวคือ ด้านหน้าใหญ่ให้ลึกเท่าหน้ากลองใหญ่ ด้านหน้าหน้อยลึกเท่าหน้ากลองหน้อยแล้วเจาะรูเชื่อมเป็นท่อนำเสียง สัดส่วนและโครงสร้างของกลองตะหลดปดนี้ ขนาดหน้าจะกว้างประมาณ ๖ นิ้ว และ ๗ นิ้ว ปัจจุบันช่างกลองบางคนได้ปรับปรุงโครงสร้าง เพื่อคุณภาพของเสียงกลองตามประสบการณ์ของช่างกลอง กล่าวคือ
        ตัวกลองยาวประมาณ ๔ เท่าของกลองหน้าใหญ่ โดยที่โพรงภายในยังอยู่ในลักษณะบัวคว่ำบัวหงาย แต่โครงสร้างเปลี่ยนไปโดยแบ่งความลึก ตามความยาวของตัวกลองเป็น ๓ ส่วน สองส่วนแรกเป็นขนาดที่วัดจากศูนย์กลางของท่อนำเสียง ไปจากหน้ากลองด้านเล็ก สัดส่วนที่นิยมปัจจุบันคือด้านหน้าใหญ่กว้างประมาณ ๘ - ๑๐ นิ้ว ด้านหน้าเล็กประมาณ ๖ - ๘ นิ้ว สัดส่วนและโครงสร้างของกลองตะหลดปดขนาดหน้ากว้าง ๘ และ ๑๐ นิ้ว
                เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน ทั้งกลองตะหลดปดแบบเดิมและแบบปัจจุบันยิ่งขึ้นโปรดสังเกตดังต่อไปนี้ หนังที่ใช้หุ้มหน้ากลองนิยมใช้หนังวัว การหุ้มใช้วิธีขึงให้ตึงโดยใช้สายเร่งเสียงยึดโยงระหว่างคร่าวหูหิ่งของทั้งสองหน้า และเนื่องจากการตีจะตีหน้ากลองด้านเล็กหน้าเดียว ด้านหน้าเล็กจึงใช้หนังที่หนากว่าหน้าใหญ่


* การติดขี้จ่ากลอง กลอง ตะหลดปดโดยทั่วไป ไม่นิยมติดขี้จ่ากลอง (ถ่วงหน้า)
                แต่บางครั้งหากหน้ากลองตึง หรือหย่อนเกินไปทำให้เสียงไม่เข้ากับฆ้องโหม่ง และฆ้องหุ่ยในชุดที่ใช้บรรเลงร่วม จึงต้องติดจ่าหรือขี้จ่าเพื่อปรับเสียงให้เข้ากับเสียงฆ้อง โดยจะติดหน้ากลองด้านใหญ่ โดยเริ่มติดแต่น้อยแล้วเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนกว่าจะได้เสียงตามที่ต้องการ
* โอกาสที่ใช้ตี กลองตะหลดปด ใช้ตีประกอบจังหวะร่วมกับกลองแอว อาจเป็นวงกลองตึ่งนงเปิ้งมง ตกเส้ง หรือ กลองอืด ก็ได้ วงกลองเหล่านี้มักบรรเลงเป็นมหรสพในงานบุญ หรือ บรรเลงประกอบการฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียนและในขบวนแห่โดยทั่วไป
ที่มา : https://sites.google.com/site/ghuerrx11/4-wathnthrrm-lan-na/ta-hld-pd-hrux-ma-hld-pd

กลองเต่งถิ้ง






เป็นกลองที่ขึงด้วยหนังทั้งสองหน้า มีสายโยงเร่งเสียงและมีขาตั้ง รูปร่างลักษณะคล้ายตะโพนมอญชื่อกลองได้ตามเสียงกลองขณะที่ตีเสียงดัง เต่ง ถิ้ง โครงสร้างของกลองเต่งถิ้งมีลักษณะคล้ายตะโพนมอญมาก ตัวกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่ ไม้มะม่วง หรือไม้ขนุน หน้ากลองด้านหนึ่งกว้างกว่าอีกด้านหนึ่ง โดยหน้าใหญ่กว้างประมาณ 16-18 นิ้ว หน้าเล็กกว้างประมาณ 11-13 นิ้ว ตัวกลองยาวประมาณ 26-28 นิ้ว หน้ากลองขึงด้วยหนังวัว โดยใช้สายเร่งเสียงโยงระหว่างคร่าวหูหิ่ง (เชือกที่สอดร้อยขอบหนังหน้ากลอง) ทั้งสองหน้า ดึงให้ตึงจนหนังอยู่ตัว ก่อนตีจะติดขี้จ่าเพื่อถ่วงหน้ากลองทั้งสองด้านให้เสียงดังกังวาน

กลองเต่งถิ้งปกติใช้ตีคู่กับกลองป่งโป้ง ในวงเต่งถิ้งซึ่งใช้แห่ในงานบุญของวัด และในขบวนแห่งานศพ นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงประกอบการชกมวย ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตาและในงานฟ้อนผีอีกด้วย

การประสมวง


                วงเต่งถิ้งในเวลาเล่นอยู่กับที่นั้น การประสมวงต้องอยู่ตามตำแหน่งเพื่อให้เสียงที่บรรเลงเกิดการ
กลมกลืนทางเสียง และมีความไพเราะ
                ในอดีตการบรรเลงในขบวนแห่ เช่น การนำศพไปป่าช้า การแห่ขบวนกฐิน หรือการแห่ขบวนผ้าป่า
นั้น ต้องมีการหามเครื่องดนตรีโดยเฉพาะเครื่องดนตรีที่มีน้าหนัก เช่น กลอง พาทย์ค้อง ระนาด ฯลฯ ให้นัก
ดนตรีบรรเลงไปตลอดทางตามตำแหน่งของการประสมวงที่ถูกต้องโดยจัดลำดับเป็นขบวนดังนี้
 อันดับที่ 1 สิ่งที่แห่ (เดินนำหน้า)
 อันดับที่ 2 กลองแต่งถิ้งคู่กับกลองป่งโป้ง
 อันดับที่ 3 พาทย์เหล็ก (ระนาดเหล็ก)
 อันดับที่ 4 พาทย์ค้อง (ฆ้องวงใหญ่)
 อันดับที่ 5 พาทย์ไม้ (ระนาดเอก)
 อันดับที่ 6 สว่า (ฉาบ)
 ส่วนปี่แนน้อยและแนหลวงจะเดินขนาบข้างพาทย์เหล็ก โดยมีตำแหน่งของเครื่องดนตรีต่าง ๆ


 โอกาสที่ใช้ชุดกลองเต่งถิ้งบรรเลง
                วงดนตรีชุดกลองเต่งถิ้งใช้บรรเลงทั้งในงานมงคลและงานอวมงคล อาทิ งานบุญต่าง ๆ เช่น งาน
ปอยหลวง ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า การถวายทานสลากภัตร งานที่เกี่ยวกับประเพณีพื้นบ้านล้านนา เช่น งาน
ฟ้อนผีมด ผีเม็ง งานฟ้อนผีเจ้านาย และงานศพ รวมทั้งใช้บรรเลงประกอบการชกมวย หรือการต่อสู้แบบ
                                                                                                 ล้านนา


แหล่งที่มา : http://lib.payap.ac.th/webin/ntic/musician/bg3/abundant/abundant/k_tengting.pdf

พิณเพียะ

       


        
ประวัติ

พิณเพียะ เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองลานนาชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มีคันทวนตอนปลาย    คันทวนทำด้วยเหล็กรูปหัวช้าง ทองเหลือง สำหรับใช้เป็นที่พาดสาย ใช้สายทองเหลืองเป็นพื้นสายทองเหลือง  นี้จะพาดผ่านสลักตรงกะลาแล้วต่อไปผูกกับสลักตรงด้านซ้าย สายของพิณเปี๊ยะมีทั้ง 2 สายและ 4 สายกะโหลก  ของพิณเปี๊ยะทำด้วยเปลือกน้ำเต้าตัดครึ่งหรือกะลามะพร้าว ก็ได้ เวลาดีด ใช้กะโหลกประกบติดกับหน้าอก  ขยับเปิด ปิดให้เกิดเสียงตามต้องการ ในสมัยก่อนชาวเหนือมักจะใช้พิณเปี๊ยะดีดคลอกับการขับ ลำนำในขณะ   ที่ไปเที่ยวสาว แต่เกิดการแย่งสาวกันขึ้น จึงใช้พิณเปี๊ยะเป็นอาวุธทำร้ายกันจึงได้มีการห้ามไม่ให้มีการเล่นเครื่อง  ดนตรีชนิดนี้อีก ทำให้พิณเปี๊ยะไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร
                         เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดที่เก่าแก่ของชาวลานนา ( เหนือ ) มีสายตั้งแต่ 2 สาย ถึง 7 สาย เดิม                 ใช้เป็นเครื่องดีดสำหรับแอ่วสาว นิยมดีดเพลงที่มีทำนองช้าๆ เช่น เพลงปราสาทไหว
                มีส่วนประกอบดังนี้
กะโหลก ทำจากผลกะโหลกมะพร้าวแห้ง ตัดครึ่งลูก ขัดเกลาให้บาง ผูกติดกับคันเพี๊ยะโดยมีไม้กลึงท่อนเล็กๆเจาะรูร้อยเชือก เชื่อมระหว่างกะลาตอนบนกับคันเพี๊ยะ
คันเพี๊ยะ หรือคันทวน ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เหลากลมเรียวยาว ตอนปลายทำด้วยโลหะเป็นรูปนกหัสดีลิง เพื่อพันผูกสาย ตอนโคนใหญ่เจาะรู ๒ รู เพื่อสอดใส่ลูกบิด
ลูกบิด ทำด้วยไม้ หัวเรียวใหญ่ ปลายเล็กเพื่อสอดใส่ในรูคันเพี๊ยะ
สาย ทำด้วยสายป่าน ต่อมาใช้สายลวด หรือสายทองเหลืองโดยโยงจากปีกนกหัสดีลิงไปพันผูกที่ลูกบิด

รัดอก ทำด้วยเชือก โดยรัดสายเพี๊ยะให้ติดกับคันทวน ซึ่งใช้เชือกเส้นเดียวกันกับเชือกที่ผูกกะลาที่ติดกับคันเพี๊ยะนั่งเอง

หลักการดีดเพี๊ยะ
ผู้ดีดจะยืนไม่สวมเสื้อมือซ้ายจับคันเพี๊ยะหงายมือให้คันเพี๊ยะอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ ให้กระโหลกของเพี๊ยะปิดเนื้อทรวงอกพอดี เวลาดีดจะเปิดกะลากับทรวงอกให้เสียงดังกังวาน มือขวาดีดโดยการคว่ำมือ ให้คันเพี๊ยะอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ เวลาดีดใช้นิ้วนาง กลาง และก้อย

วิธีดีดพิณ

1.เสียงป็อกคือการดีดที่ใช้นิ้วนางดีดสายเรียงลำดับ3จุด
2.เสียงใหลคือการเลื่อนใหลมือในขณะดีด
3. เสียงจก คือการดีดที่ใช้นิ้วก้อยของมือขวา
ลักษณะ

 พิณเพียะมีลักษณะคล้ายพิณน้ำเต้า แต่มีสายเพิ่มขึ้นเป็น 2 สาย หรือ 4 สาย คันทวนยาวประมาณ 1 เมตร   เศษลูกบิดยาวประมาณ 18 ซ.ม. สำหรับเร่งเสียง กระโหลกทำด้วยผลน้ำเต้า นำมาตัดครึ่งลูก หรือทำด้วยกะลา  มะพร้าว เวลาดีดจะต้องนำเอากระโหลกมาประกบแนบกับหน้าอก ขยับปิดเปิดเพื่อให้เกิดเสียงตามต้องการเหมือน  กับพิณน้ำเต้า นิยมใช้บรรเลงขณะที่ไปเที่ยวเกี้ยวสาว เนื้อร้องมีลักษณะแสดงความรักเช่นเดียวกับพิณน้ำเต้า ปัจจุบัน หาผู้ที่เล่นได้ยาก

วิธีการเล่น


                 ใช้มือกดสายและถือคันพิณเฉียงกับลำตัวผู้เล่น ให้กล่องเสียงวางทาบกับหน้าอกของผู้เล่น ซึ่งผู้เล่นจะ   บังคับให้เสียงที่ออกจากกล่องเสียงมีความทุ้ม หนักเบา แหลม ฯลฯ เกิดเป็นเสียงได้หลายลักษณะ โดยการขยับ กล่องเสียงด้วยมือซ้าย ทำให้เสียงสะท้อนออกมาทางช่องระหว่างกะลากับหน้าอก เดิมชายล้านนามักนำพิณเปี๊ยะไปเล่นเวลาไป แอ่วสาว

     ลิงก์เพจ facebook

         https://nokkr.wordpress.com/about/