ประวัติ
พิณเพียะ
เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองลานนาชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด
มีคันทวนตอนปลาย คันทวนทำด้วยเหล็กรูปหัวช้าง ทองเหลือง สำหรับใช้เป็นที่พาดสาย
ใช้สายทองเหลืองเป็นพื้นสายทองเหลือง นี้จะพาดผ่านสลักตรงกะลาแล้วต่อไปผูกกับสลักตรงด้านซ้าย
สายของพิณเปี๊ยะมีทั้ง 2 สายและ 4 สายกะโหลก
ของพิณเปี๊ยะทำด้วยเปลือกน้ำเต้าตัดครึ่งหรือกะลามะพร้าว
ก็ได้ เวลาดีด ใช้กะโหลกประกบติดกับหน้าอก ขยับเปิด
ปิดให้เกิดเสียงตามต้องการ ในสมัยก่อนชาวเหนือมักจะใช้พิณเปี๊ยะดีดคลอกับการขับ
ลำนำในขณะ ที่ไปเที่ยวสาว
แต่เกิดการแย่งสาวกันขึ้น จึงใช้พิณเปี๊ยะเป็นอาวุธทำร้ายกันจึงได้มีการห้ามไม่ให้มีการเล่นเครื่อง
ดนตรีชนิดนี้อีก
ทำให้พิณเปี๊ยะไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร
เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดที่เก่าแก่ของชาวลานนา
( เหนือ ) มีสายตั้งแต่ 2 สาย ถึง 7 สาย เดิม ใช้เป็นเครื่องดีดสำหรับแอ่วสาว นิยมดีดเพลงที่มีทำนองช้าๆ เช่น
เพลงปราสาทไหว
มีส่วนประกอบดังนี้
• กะโหลก ทำจากผลกะโหลกมะพร้าวแห้ง ตัดครึ่งลูก ขัดเกลาให้บาง
ผูกติดกับคันเพี๊ยะโดยมีไม้กลึงท่อนเล็กๆเจาะรูร้อยเชือก
เชื่อมระหว่างกะลาตอนบนกับคันเพี๊ยะ
• คันเพี๊ยะ หรือคันทวน ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง
เหลากลมเรียวยาว ตอนปลายทำด้วยโลหะเป็นรูปนกหัสดีลิง เพื่อพันผูกสาย
ตอนโคนใหญ่เจาะรู ๒ รู เพื่อสอดใส่ลูกบิด
• ลูกบิด ทำด้วยไม้ หัวเรียวใหญ่ ปลายเล็กเพื่อสอดใส่ในรูคันเพี๊ยะ
• สาย ทำด้วยสายป่าน ต่อมาใช้สายลวด
หรือสายทองเหลืองโดยโยงจากปีกนกหัสดีลิงไปพันผูกที่ลูกบิด
• รัดอก ทำด้วยเชือก
โดยรัดสายเพี๊ยะให้ติดกับคันทวน
ซึ่งใช้เชือกเส้นเดียวกันกับเชือกที่ผูกกะลาที่ติดกับคันเพี๊ยะนั่งเอง
หลักการดีดเพี๊ยะ
ผู้ดีดจะยืนไม่สวมเสื้อมือซ้ายจับคันเพี๊ยะหงายมือให้คันเพี๊ยะอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้
ให้กระโหลกของเพี๊ยะปิดเนื้อทรวงอกพอดี
เวลาดีดจะเปิดกะลากับทรวงอกให้เสียงดังกังวาน มือขวาดีดโดยการคว่ำมือ ให้คันเพี๊ยะอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้
เวลาดีดใช้นิ้วนาง กลาง และก้อย
วิธีดีดพิณ
1.เสียงป็อกคือการดีดที่ใช้นิ้วนางดีดสายเรียงลำดับ3จุด
2.เสียงใหลคือการเลื่อนใหลมือในขณะดีด
3. เสียงจก คือการดีดที่ใช้นิ้วก้อยของมือขวา
ลักษณะ
พิณเพียะมีลักษณะคล้ายพิณน้ำเต้า แต่มีสายเพิ่มขึ้นเป็น 2 สาย หรือ 4 สาย
คันทวนยาวประมาณ 1 เมตร เศษลูกบิดยาวประมาณ
18 ซ.ม. สำหรับเร่งเสียง กระโหลกทำด้วยผลน้ำเต้า
นำมาตัดครึ่งลูก หรือทำด้วยกะลา มะพร้าว
เวลาดีดจะต้องนำเอากระโหลกมาประกบแนบกับหน้าอก
ขยับปิดเปิดเพื่อให้เกิดเสียงตามต้องการเหมือน กับพิณน้ำเต้า
นิยมใช้บรรเลงขณะที่ไปเที่ยวเกี้ยวสาว
เนื้อร้องมีลักษณะแสดงความรักเช่นเดียวกับพิณน้ำเต้า ปัจจุบัน หาผู้ที่เล่นได้ยาก
วิธีการเล่น
ใช้มือกดสายและถือคันพิณเฉียงกับลำตัวผู้เล่น
ให้กล่องเสียงวางทาบกับหน้าอกของผู้เล่น ซึ่งผู้เล่นจะ บังคับให้เสียงที่ออกจากกล่องเสียงมีความทุ้ม หนักเบา แหลม ฯลฯ
เกิดเป็นเสียงได้หลายลักษณะ โดยการขยับ กล่องเสียงด้วยมือซ้าย
ทำให้เสียงสะท้อนออกมาทางช่องระหว่างกะลากับหน้าอก
เดิมชายล้านนามักนำพิณเปี๊ยะไปเล่นเวลาไป “แอ่วสาว
ลิงก์เพจ facebook
ลิงก์เพจ facebook
https://nokkr.wordpress.com/about/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น