วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กลองตึ่งนง



กลองแอวเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองเหนือ ประเภทเครื่องตีชนิดขึงด้วยหนัง หน้าเดียว เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่าและชนชาติไทยใหญ่ จัดเป็น กลองประเภทเดียวกับกลองหลวง กลองปูเจ่ และกลองยาว เป็นกลองที่มีอยู่ประจำ วัด เพื่อใช้ในวงกลองแอวประกอบการฟ้อนเมืองหรือเข้าขบวนแห่ในงานบุญต่างๆ
กลองแอวมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลองตึ่งนงหรือ กลองตึ่งโนง

ลักษณะทั่วไป

กลองแอวมีลักษณะโดยทั่วไปเหมือนกับกลองหลวงทุกประการ แต่มีขนาดเล็ก กว่า ความยาววัดจากหนังหน้ากลองจนถึงปลายลำโพง ยาวประมาณ ๑๗๓ เซนติเมตร ตัวกลองวัดจากขอบหนังหน้ากลองจนถึงคอหรือเอวกลอง ยาวประมาณ ๗๓ เซนติเมตร จากคอหรือเอวกลองไปจนถึงปลายลำโพง ยาวประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร หน้ากลอง กว้างประมาณ ๒๙ เซนติเมตร ปลายลำโพงกว้างประมาณ ๓๒ เซนติเมตร หน้ากลอง ติดข้าวสุกผสมขี้เถ้า (จ่า) ถ่วงเสียงให้เกิดความไพเราะเวลาตี
คำว่า แอวภาษาพื้นเมืองเหนือหมายถึง สะเอวคำว่า กลองแอว จึงน่า จะหมายถึงกลองที่มีสะเอวนั่นเอง(เพราะมีลักษณะคอดกลางเหมือนสะเอว)
ที่ ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองฯ จังหวัดแพร่ มีกลองแอวที่มีขนาดสั้นกว่า คือ ยาวประมาณ ๙๐ เซนติเมตร หน้ากลองกว้างประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ปลายลำโพง กว้างประมาณ ๒๙ เซนติเมตร เวลาเล่นใช้สะพายเข้าสะเอวตีเหมือนกลองปูเจ่ ดังนั้น คำว่า กลองแอว จึงอาจมีความหมายว่า กลองที่ใช้สะพายเข้าสะเอวเวลาตี มากกว่า ที่หมายถึงกลองที่มีสะเอว

วิธีเล่น
ถ้าเป็นการเล่นโดยการเคลื่อนที่จะต้องใช้คนหาม ๒ คน หรือถ้าไม่เคลื่อนที่ก็ ต้องมีขาตั้ง เวลาเล่นประสมวง ที่ตัวกลองแอวจะมีกลองตะโล้ดโป้ดแขวนไว้ติดกับ ตัวกลองแอว เพื่อใช้ตีประกอบกันด้วย กลองแอวนั้นจะตีเป็นจังหวะด้วยไม้ตี เพื่อให้ ผู้ฟ้อนใช้จังหวะเป็นหลักในการฟ้อน

การประสมวง
กลองแอวตามปกติใช้เล่นประสมวงกัน เรียกว่า วงกลองแอว เล่นร่วมกับ เครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ ใช้ประกอบการฟ้อนเมือง


โอกาสที่ใช้
ใช้บรรเลงประกอบการฟ้อนเมือง (ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน) ในงาน ปอยหลวง แห่ครัวทาน บวชลูกแก้ว ฯลฯ เป็นต้น

1 ความคิดเห็น: