เป็นกลองที่ขึงด้วยหนังทั้งสองหน้า
มีสายโยงเร่งเสียงและมีขาตั้ง
รูปร่างลักษณะคล้ายตะโพนมอญชื่อกลองได้ตามเสียงกลองขณะที่ตีเสียงดัง “เต่ง –
ถิ้ง ” โครงสร้างของกลองเต่งถิ้งมีลักษณะคล้ายตะโพนมอญมาก
ตัวกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่ ไม้มะม่วง หรือไม้ขนุน
หน้ากลองด้านหนึ่งกว้างกว่าอีกด้านหนึ่ง โดยหน้าใหญ่กว้างประมาณ 16-18 นิ้ว หน้าเล็กกว้างประมาณ 11-13 นิ้ว
ตัวกลองยาวประมาณ 26-28 นิ้ว หน้ากลองขึงด้วยหนังวัว
โดยใช้สายเร่งเสียงโยงระหว่างคร่าวหูหิ่ง (เชือกที่สอดร้อยขอบหนังหน้ากลอง)
ทั้งสองหน้า ดึงให้ตึงจนหนังอยู่ตัว
ก่อนตีจะติดขี้จ่าเพื่อถ่วงหน้ากลองทั้งสองด้านให้เสียงดังกังวาน
กลองเต่งถิ้งปกติใช้ตีคู่กับกลองป่งโป้ง
ในวงเต่งถิ้งซึ่งใช้แห่ในงานบุญของวัด และในขบวนแห่งานศพ
นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงประกอบการชกมวย ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน
ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตาและในงานฟ้อนผีอีกด้วย
การประสมวง
วงเต่งถิ้งในเวลาเล่นอยู่กับที่นั้น
การประสมวงต้องอยู่ตามตำแหน่งเพื่อให้เสียงที่บรรเลงเกิดการ
กลมกลืนทางเสียง
และมีความไพเราะ
ในอดีตการบรรเลงในขบวนแห่
เช่น การนำศพไปป่าช้า การแห่ขบวนกฐิน หรือการแห่ขบวนผ้าป่า
นั้น
ต้องมีการหามเครื่องดนตรีโดยเฉพาะเครื่องดนตรีที่มีน้าหนัก เช่น กลอง พาทย์ค้อง
ระนาด ฯลฯ ให้นัก
ดนตรีบรรเลงไปตลอดทางตามตำแหน่งของการประสมวงที่ถูกต้องโดยจัดลำดับเป็นขบวนดังนี้
อันดับที่ 1 สิ่งที่แห่ (เดินนำหน้า)
อันดับที่ 2
กลองแต่งถิ้งคู่กับกลองป่งโป้ง
อันดับที่ 3 พาทย์เหล็ก (ระนาดเหล็ก)
อันดับที่ 4 พาทย์ค้อง (ฆ้องวงใหญ่)
อันดับที่ 5 พาทย์ไม้ (ระนาดเอก)
อันดับที่ 6 สว่า (ฉาบ)
ส่วนปี่แนน้อยและแนหลวงจะเดินขนาบข้างพาทย์เหล็ก
โดยมีตำแหน่งของเครื่องดนตรีต่าง ๆ
โอกาสที่ใช้ชุดกลองเต่งถิ้งบรรเลง
วงดนตรีชุดกลองเต่งถิ้งใช้บรรเลงทั้งในงานมงคลและงานอวมงคล
อาทิ งานบุญต่าง ๆ เช่น งาน
ปอยหลวง
ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า การถวายทานสลากภัตร งานที่เกี่ยวกับประเพณีพื้นบ้านล้านนา เช่น
งาน
ฟ้อนผีมด
ผีเม็ง งานฟ้อนผีเจ้านาย และงานศพ รวมทั้งใช้บรรเลงประกอบการชกมวย
หรือการต่อสู้แบบ
ล้านนา
แหล่งที่มา
:
http://lib.payap.ac.th/webin/ntic/musician/bg3/abundant/abundant/k_tengting.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น