ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ
ความเป็นมา
ดนตรีพื้นบ้านเป็นดนตรีชาวบ้านสร้างสรรค์ขึ้นด้วนการร้องหรือบรรเลงโดยชาว
บ้านและชาวบ้านด้วนกันเป็นผู้ฟัง ดนตรีพื้นบ้านมีลักษณะดังนี้
1.เป็นดนตรีของชาวบ้าน ส่วนมากเกิดขึ้นและพัฒนาในสังคมเกษตรกรรม
มีลักษณะที่ไม่มีระบบกฎเกณฑ์ชัดเจนตายตัว
ประกอบกับใช้วิธีถ่ายทอดด้วนปากและการจดจำ
จึงเป็นเหตุให้ไม่มีใครเอาใจใส่ศึกษาหรือจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานดังเช่น ดนตรีสากล
2.เป็นดนตรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น แต่ละท้องถิ่นจะมีดนตรีที่มีสำเนียง
ทำนอง และจังหวะลีลาของตนเอง
ดนตรีพื้นบ้านส่วนใหญ่มีทำนองที่ประดิษฐ์ดัดแปลงมาจากทำนองของเสียงธรรมชาติ
ตัวอย่างเช่น ซอของดนตรีภาคเหนือ คือ เพลงจะปุ
มีทำนองอ่อนหวานตามสำเนียงพูดของคนไทยชาวเมืองจะปุในแคว้นสิบสองปันนาหรือ
ซอล่องน่าน ของจังหวัดน่านมีทำนองเหมือนกระแสน้ำไหล
มีข้อสังเกตว่า เครื่องดนตรีพื้นบ้านผลิตด้วยฝีมือช่างชาวบ้าน
รูปแบบเครื่องดนตรี เครื่องดนตรีที่ทำเพื่อไว้ตีคนทุกคนไหนปะเทศไทยนะคับ
ลักษณะการบรรเลง
ชาวบ้านล้านนาในอดีต มักนิยมใช้เวลาว่างในตอนกลางคืนให้เป็นประโยชน์
โดยเฉพาะผู้หญิงสาว ภารกิจที่เป็นประโยชน์มักจะได้แก่
การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อเตรียมไปเพาะปลูกในวันรุ่งขึ้น บางทีก็ “ ไซ้(เลือก)”
พืชผลทางการเกษตรที่ผลิตออกมาเพื่อจำหน่าย
จึงกลายเป็นจุดศูนย์กลางและการดึงดูดความสนใจของหนุ่ม และกลายเป็นศูนย์รวม “นักแอ่วสาว” ทั้งหลายและดนตรีคู่กายชายหนุ่มย่อมนำมาใช้ตามความถนัด
สันนิฐานว่าคงมีการนัดหมายเพื่อให้มาบรรเลง แนวเดียวกัน
จึงเป็นการพัฒนาการขั้นแรกของการผสมวงดนตรี
กลุ่มนักแอ่วสาวตามลานบ้านประกอบด้วยเครื่องดนตรี เปี๊ยะ สะล้อ ซึง ขลุ่ย ปี่
กลองพื้นเมือง (กลองโป่งป้ง) จึงกลายเป็นดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือโดยปริยาย
นิยมเรียกตามชนิดของเครื่องดนตรีที่นำมาผสมเป็นวงว่า “วงสะล้อซอซึง”
ลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้าน
ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารและสื่อความหมายอย่างดียิ่งประเภทหนึ่ง รองลงมาจากภาษา
ทุกท้องถิ่นทั่วโลกจึงมีดนตรีและภาษาเป็นของตนเอง
หากเราได้มีโอกาสศึกษาอย่างถ่องแท้ จะทราบได้ว่า
ทั้งภาษาและดนตรีมีแหล่งกำนิดจากที่เดียวกัน
เมื่อแพร่หลายกว้างขวางออกไปมากยิ่งขึ้น
จึงเริ่มเกิดความแตกต่างเป็นดนตรีเฉพาะถิ่นหรือภาษาถิ่น
วงดนตรีพื้นเมืองและนักดนตรีพื้นเมืองแต่ละท้องถิ่นนั้น
นิยมบรรเลงกันตามท้องถิ่น และยึดเป็น “อาชีพรอง”ยังคงเล่นดนตรีแบบดั่งเดิม ทำนองเพลง ระเบียบวินัย และวิธีการเล่น
จึงไม่ตรงตามหลักสากล
จุดบกพร่องเหล่านี้ถือเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่น่าศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์และฟื้นฟู
และมีวิธีการสืบทอดภูมิปัญญาสู่ชนรุ่นหลัง
สะ ล้อ ดนตรีไทยพื้นบ้านภาคกลางและภาคเหนือ
ต่างมีแนวทางการอนุรักษ์ในรูปแบบเดียวกันคือวิทยาลัยนาฏศิลป
วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ได้จัดทำเป็นหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ
สำหรับภาคดนตรีไทย เปิดโอกาสให้นักเรียนที่สนใจเข้าศึกษาในระบบ
แนวโน้มของการสูญหายไม่มีโอกาสเป็นไปได้ เนื่องจากวิทยาลัยนาฏศิลป
วิทยาลัยนาฏ-ศิลปเชียงใหม่
ได้มีการผลิตบุคลากรทางด้านดนตรีทั้งสองชนิดอย่างต่อเนื่อง
จากบทสัมภาษณ์อาจารย์ทั้งสองท่านซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ทางภาคเหนือ ได้แก่
- นางศิวาไลย์ ศรีสุดดี ครูชำนาญการ
ภูมิลำเนาบ้านเลขที่ 32 วังดิน ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
- นายประชา คชเดช ครูชำนาญการ
ภูมิลำเนาบ้านเลขที่ 49 หมู่ 8 บ้านหนองแก๋ว ตำบลหนองแก๋ว อำเภอหาง
จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์ทั้งสองท่านได้กรุณาแนะนำและเสนอแนะว่า “ การอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะแนวโน้มการศูนย์หายของดนตรี
พื้นบ้านมีมากขึ้น นักเรียนและคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยนิยม
แต่ถ้าหน่วยงานภาครัฐบาลสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนรวมทั้งจัดงบประมาณใน การจัดซื้อหรือตั้งหน่วยงานสอนทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านก็เป็นการอนุรักษ์อีก
ทาง”
ปัจจุบันอาจารย์ทั้งได้ช่วยเรื่องการอนุรักษ์
โดยเป็นผู้สอนวิชาดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือในวิชาโทและชมรม ที่วิทยาลัยนาฏศิลป
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
ด้านจังหวัดเชียงใหม่หน่วยงานหรือชุมชนที่ร่วมอนุรักษ์ได้แก่
วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ชมรมดนตรีพื้นบ้าน วัดได้จัดชมรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้าน
และจัดกิจกรรมส่งเสริมการบรรเลงในวันสงกรานต์โดยมีผู้สูงอายุเป็นผู้บรรเลง
ลิงก์เพจ facebook
ที่มา : http://pirun.ku.ac.th/~b521110058/Templates/prawat.html
ลิงก์เพจ facebook
ที่มา : http://pirun.ku.ac.th/~b521110058/Templates/prawat.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น